ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
มีดังนี้
1. การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ โดยไม่ใช่เพียงแค่การบรรยาย
แต่ต้องนำวิธีการสอนที่หลากหลายมาใช้ เช่น Flipped classroom, Reflective
thinking, Transformative learning, Authentic learning
การใช้ป้ายสี เพื่อแสดงความเข้าใจ
โดยมีแนวคิดเพื่อการนำไปใช้ ดังนี้
- Flipped classroom
การสอนที่ไม่ใช่การบรรยาย หรือท่องจำ
การสลับเปลี่ยนวธีการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
- Reflective thinkingการสะท้อนคิด
เพื่อวิเคราะห์ว่าตนเองรู้อะไร และยังไม่รู้อะไร
เพื่อการวางแผนที่จะเรียนรู้ต่อยอดต่อไป
ประเด็นต้องชัดเจน มีเวลา มีเป้าหมาย
- Transformative learningการเปลี่ยนสภาพ
จากไม่รู้เป็นรู้ จากทำไม่ได้เป็นทำได้ เปลี่ยนจากไม่ชอบเป็นชอบ
- Authentic assessment การตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการคิดขั้นสูงและทักษะที่ใช้ได้นชีวิตจริง
2. การพัฒนานิสิตไม่ใช่เพียงแค่ต้องการให้นิสิตเก่ง แต่ต้องเก่ง ดี
และมีความสุข โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดี
3.
เน้นให้นิสิตรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
มีการคิดวิเคราะห์หาเหตุและผล ตั้งเป้าหมายให้กับตนเองในการเรียน
4.
ครูต้องมีการเสริมแรงเมื่อเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่นการตั้งคำถาม
ครูต้องชมเชยเพื่อที่เด็กจะไม่รู้เก้อเขิน หรือ รู้สึกไม่ดีเวลาถาม
สรุปจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนา
การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตจะเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงโดยใช้การสะท้อนคิด
(Reflective
Thinking) นั้นสามารถสรุปแนวคิด
ได้ดังต่อไปนี้
๑. สามารถทำได้ทั้งในวิชาภาคทฤษฎีและวิชาปฎิบัติ
โดยในขั้นตอนการ recall
ในปฎิบัติสามารถใช้ประสบการณ์จริง ในวิวิชาทฤษฎี
อาจกำหนดโจทย์สถานการณ์มา หรือให้ดูคลิปวิดีโ
๒. สามารถเตรียมให้นิสิตพัฒนาการใช้ทักษะการสะท้อนคิดได้ตั้งแต่ชั้นปีที่
1 โดยเฉพาะในรายวิชากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และวิชามนุษย์ฯ
๓. สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุกชั้นปี
๔. ควรพิจารณาทำในรายวิชาที่สามารถวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ได้
(LO2) โดยใช้แนวคิดกระบวนการสะท้อนคิด ของ Gibbs
ซึ่งจะช่วยให้สามารถวัด LO2 ได้ทั้งหมด
๕. ในการนำการสะท้อนคิดมาใช้ในการพัฒนาจัดการเรียนการสอนควรมีการเตรียมทั้งผู้สอน
ผู้เรียนประมวลรายวิชาและเครื่องมือ
๖. ครูควรปรับบทบาทเป็น
Facilitator,
Guide และ Co-learner /Co-investigator
เน้นการใช้คำถามที่เป็น Positive
๗. ในการสะท้อนคิดควรให้นิสิตฝึกการเชื่อมโยงประสบการณ์กับความรู้จากแนวคิดทฤษฎี
และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง
แนวปฏิบัติที่ดีในการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตจะเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงโดยใช้การสะท้อนคิด
(Reflective
Thinking)มีดังนี้
· ใช้กระบวนการสะท้อนคิด
ของ Gibbs,
1988 ซึ่งประกอบด้วย
6. การวางแผนการใช้ความรู้
|
สังเคราะห์
|
5.การสรุปความเข้าใจใหม่
|
สังเคราะห์
|
4. การวิเคราะห์เหตุการณ์
|
วิเคราะห์
|
3. การประเมินผลกระทบ
|
นำไปใช้
|
2.
การทบทวนความคิดและความรู้สึก
|
รู้จำ/เข้าใจ
|
1. การทบทวนประเด็น
|
รู้จำ
|
· แบ่งระดับของการสะท้อนคิด
(Lee,
2002) ดังนี้
Non-reflect ; อธิบายคร่าว ๆ
Descriptive reflect อธิบายเหตุการณ์อย่างละเอียด จดจำได้ดี
Dialogic
reflect : วิเคราะห์ด้วยมุมมองที่ไม่ค่อยหลากหลาย
Critical
reflect : วิเคราะห์อย่างลุ่มลึกมีเหตุผล ข้อคิดพัฒนา
โดย เปรียบเทียบระดับ Critical level (4,5,6) Aware level (2,3)
Surface level (1)
· มีการเตรียมทั้งผู้สอน
ผู้เรียน รายวิชาและเครื่องมือ ดังนี้
การเตรียมครู
ปัญหา
|
แนวทางการแก้ไขปัญหา
|
|
1.
มีความเข้าใจและทัศนคติ
2.
ฝึกให้มีนิสัยเป็นนักสะท้อนคิด
3.
ฝึกทักษะการตั้งคำถาม
4.
ฝึกทักษะการประเมินช่วยเหลือ
5.
ฝึกการให้กำลังใจเสริมแรง
6.
การสร้างทีมร่วมกัน
7.
การทำ KM มีระบบพี่เลี้ยง
การทำวิจัยในชั้นเรียน
|
การเตรียมวิชา/เครื่องมือ
ปัญหา
|
แนวทางการแก้ไขปัญหา
|
1.
Curriculum ไม่ชัดเจน
เน้นสาระความรู้
2.
การออกแบบรายวิชาเป็นการ teacher
center
3.
การประเมินผลทำได้ยาก
4.
หนังสือหรือทรัพยากรการเรียนรู้ไม่เพียงพอ
5.
เนื้อหามีมากเกินไปเวลาน้อย
6.
การจัดการเยนการสอนไม่ยืดหยุ่น
|
|
การเตรียมผู้เรียน
ปัญหา
|
แนวทางการแก้ไขปัญหา
|
1. ไม่เห็นประโยชน์ของการทบทวนตนเอง
2.
พร่องทักษะในการตั้งประเด็นคำถามที่เป็น gap
เพื่อพัฒนาการการเรียนรู้ของตนเอง
3. ขาดการเชื่อมโยงความรู้จากแนวคิดทฤษฎี
หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
|
1. ให้ข้อมูลชี้แจงปรับทัศนคติ
2. ฝึกการหาประเด็น
โดยอาจารย์เป็นผู้ยกตัวอย่างคำถามที่มีความเจาะจง ไม่กว้างเกินไป
และนำไปสู่การหาฝึกคิดหาคำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. ฝึกการตั้งคำถาม
4. ฝึกการเขียนให้ดูตัวอย่าง
ให้ดูเกณฑ์
5.
ฝึกการใช้หลักฐานชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
6. เสริมแรงให้กำลังใจ
|
แนวปฏิบัติที่ดีในการทำบันทึกสะท้อนคิด
การที่ครูเป็นผู้วิเคราะห์ประเด็นการสะท้อนคิดที่มีความเจาะจง
ไม่กว้างเกินไป เอาเฉพาะที่เป็นปัญหาก่อน
ให้ผู้เรียนฝึกทำจึงมีส่วนสำคัญในการทำการสะท้อนคิดที่มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดว่าให้เขียนไม่เกิน 15
บรรทัดซึ่งประกอบด้วย
1. ให้เขียนประสบการณ์ Recall สั้นๆ 3 บรรทัด
2.
ให้เขียนแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ
3. ให้ค้นงานวิจัย Evidence-based มาอธิบายและอ้างอิงด้วย
ตัวอย่างเช่น
กำหนดให้นิสิตสะท้อนคิดเกี่ยวกับ
ประสบการณ์การบริหารยา โดยประกอบด้วย
1. เขียนประสบการณ์ในการบริหารยา
2. หลักในการบริหารยา
3.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารยาที่ดีที่สุด
-
โดยเพิ่มเรื่องผลที่เกิดจากความไม่ตระหนักในการบริหารยาที่ถูกต้องและให้เขียนเอกสารอ้างอิงมาด้วย
เขียนโดย โดย กลุ่ม CoP: ทำอย่างไรให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
นพรัตน์วชิระ