วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

การสร้างเครื่องมือการวิจัย


ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัยเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ ที่ผ่านมาพบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือ  เพื่อให้นักวิจัยสามารถจัดการสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับโครงการวิจัย ดังนั้น จึงได้จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัยขึ้น




สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้เรื่องการสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ

งานวิจัย
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.งานวิจัยเชิงพรรณนา จำนวน 1 เรื่อง
2. งานวิจัยกึ่งทดลอง จำนวน 5 เรื่อง
1. โครงการวิจัยเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินการจัดการความรู้ของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เป็น Descriptive research
       เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และการดำเนินการจัดการความรู้ โดยการดำเนินการจัดการความรู้นี้นำแนวคิดมาทำเป็นข้อคำถาม มีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจเครื่องมือ
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.       ไม่แนะนำให้ใช้ว่า “เพียงพอ พร้อมใช้” เนื่องจากมักจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ตอบยาก
2.       ข้อคำถามเยอะเกินไปไม่เหมาะกับการสอบถาม
3.       รายละเอียดของคำชี้แจงแบบสอบถาม

2.โครงการวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับ การดูแลสุขอนามัยในเด็กนักเรียน เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง 2 โรงเรียน
 เครื่องมือวิจัยอยู่ในรูปแบบการ์ตูน เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กเล็ก
       คำถามการวิจัย ได้จาก การพบปัญหาสุขอนามัยของนักเรียน ในขณะไปสอนนิสิตพยาบาลฝึกปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน วิชา ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1
       จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า GPA ความรู้ของบิดามารดา และฐานะทางเศรษฐกิจ มีผลต่อความรู้ของนักเรียน และปัจจัยเหล่านี้จะนำมาปรับเป็นข้อคำถามต่อไป
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. การทำแบบสอบถาม ควรคำนึงถึง อายุ ของกลุ่มเป้าหมาย สร้างแบบสอบถามให้เหมาะสมกับแต่ละวัย
2.ในการเก็บข้อมูลควรพิจารณาว่า จะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรด้วย
3. การสร้างเครื่องมือ ควรพิจารณา 1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย และ 2) คำจำกัดความ เป็นหลัก ให้ครอบคลุมทั้ง 1) เนื้อหา (content) ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและคำจำกัดความ และ 2) โครงสร้าง/ กรอบแนวคิดของการวิจัย(construct/ conceptual framework)

3.โครงการวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ศึกษาในวัยรุ่น 50 คน
       จากการ review กลุ่มอายุ 16 – 17 ปี มีอัตราคลอดสูง สอดคล้องกับการมีเพศสัมพันธ์ช่วงอายุ 15 - 16 ปี
ตัวแปร ได้แก่
1.       ความรู้
2.       ทัศนคติ
      3.ทักษะในการปฏิบัติที่จะส่งผลถึงพฤติกรรม (behavior skills)
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
       1.ต้องระวังไม่ให้กลุ่มเป้าหมาย contaminate เพราะจะทำให้ข้อมูลผิดพลาด
      2. ข้อคำถามและ scale คำตอบ จะไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่มอายุ ควรคำนึงถึง 1) ต้องการอะไรจากข้อนั้น และ 2) วัตถุประสงค์การวิจัย

4.โครงการวิจัยเรื่องเกี่ยวกับ การใช้ amphetamine ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
       นักวิจัยพบปัญหา คือ มีปัจจัยเยอะมาก และนำแบบสอบถามที่แปลมาใช้ (200 ข้อ) จึงได้มีการปรับแบบสอบถามใหม่ ให้มี reliability ดีขึ้น (เหลือ 100 กว่าข้อ)
ประเด็นการแลกเปลียนเรียนรู้
1.ปัญหาของเครื่องมือ ได้แก่
 เป็นแบบสอบถามจากต่างประเทศที่มีเนื้อหาต่างบริบทกันและมีข้อคำถามจำนวนมาก
ต้องนำเครื่องมือ/แบบสอบถามจากต่างประเทศมาปรับใหม่ โดยการหา Valid ใหม่
หาค่า Reliability ใหม่
2.ต้องพิจารณาทุกข้อคำถาม การปรับแบบสอบถามจากต่างประเทศ เราสามารถปรับได้มากแค่ไหน Adopted ไม่ปรับ Modified ปรับได้มากตามต้องการ  แต่ถ้าใช้แค่โครงสร้างของแบบสอบถาม  ก็ควรนำโครงสร้างมาจากแนวคิด/ ทฤษฎี 

5.โครงการวิจัย เรื่อง ผลของการกอดสัมผัสในการลดการเจ็บปวดในการเจาะเลือดเด็กธาลัสซีเมียในวัยเรียน (6-12 ปี) เป็น quasi-experiment research เครื่องมือวัดความเจ็บปวดใช้ของ Wong-Baker Faces (1983) คะแนน 0-10
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.การ review ควร review เครื่องมือหลายๆ แบบ แล้วเลือกชิ้นที่ดีที่สุด และใช้เป็นเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ และการทดสอบเครื่องมือมีความสำคัญ  เครื่องมือที่จะนำไปใช้ต่อไปควรจะดีกว่าของเดิม ใช้ง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก
2.งานวิจัยนี้ยังไม่มี framework ของการกอดสัมผัสและการลดการเจ็บปวด การกอดสัมผัสที่ถูกต้อง ผู้กอดสัมผัสเป็นใคร
framework เช่น pain --- reaction ที่เกิดขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อ pain ได้แก่อะไรบ้าง เช่น ความเคยชินในการถูกเจาะเลือด จำนวนครั้งของการถูกเจาะเลือด หรือลักษณะการกอด

6.โครงการวิจัยเรื่อง ความสามารถในการดูแลเด็กที่มีน้ำมูกคั่งค้าง
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.ควรปรับ คำจำกัดความ และ framework ใหม่
2. ควรทำ survey ก่อน เพื่อหาความรู้ ความตระหนัก และความสามารถของมารดาในการดูแลเด็กที่มีน้ำมูกคั่งค้างแล้วทำ quasi รูปแบบของการจำหน่าย นำปัจจัยที่สำรวจพบมาใช้ เช่น admit มาแล้วต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้มีความสามารถเหมาะสม




จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นำมาสรุปเป็นองค์ความรู้เรื่องการสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย ในประเด็นต่างๆได้ดังต่อไปนี้

1.ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดในการสร้างเครื่องมือวิจัย ควรพิจารณาจาก

- วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ชนิดของการวิจัย

- การทบทวนวรรณกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดในการวิจัยและนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย

- กลุ่มเป้าหมาย

- การวิเคราะห์ข้อมูล

2.แบบสอบถามวัดอะไรบ้าง

- ข้อเท็จจริง

- ความรู้

- ทัศนคติ การรับรู้

- พฤติกรรม

3.โครงสร้างแบบสอบถาม

- บทนำ คำชี้แจง

- ข้อมูลส่วนบุคคล

- คำถามตามวัตถุประสงค์/ กรอบแนวคิด

4.ประเภทคำถามที่ใช้

- ปลายเปิด

- เติมคำในช่องว่าง

- ปลายปิด

     - Matching

     - True/ False

- Ranking  การใช้แบบสอบถามแบบ scale จะใช้กับความคิดเห็น ทัศนคติ ไม่ควรใช้กับ fact เพราะมีแค่ ใช่ และ ไม่ใช่ ถ้าเป็น scale จะทำให้ตอบยาก 

5.หลักในการเขียนคำถาม

- Clarity ชัดเจน ไม่คลุมเครือ  หนึ่งข้อหนึ่งวัตถุประสงค์ แต่ละข้อต้องมีวัตถุประสงค์ของมันเอง

ดูให้ครอบคลุมกรอบแนวคิดของการวิจัย  ดูcontent validity ด้วยซึ่งขึ้นอยู่กับที่ให้คำนิยามศัพท์ไว้  

     - ผิด ได้แก่ บ่อยมาก บ่อย บางครั้ง น้อยมาก ไม่เคย

     - ถูก ได้แก่ ทุกวัน, 2-6 ครั้งต่อสัปดาห์

- เลี่ยงคำศัพท์

- Scales สมดุล ไม่ซ้ำกัน

- เลี่ยงคำถามที่ทำให้อึดอัดใจ

- เรียงจากง่ายไปยาก

- ไม่ใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ

- ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

- ไม่ถามมากเกินจำเป็น

- ตัวเลือกคำถามความรู้ต้องรวมคำตอบ ไม่ทราบ/ ไม่แน่ใจ

- ควรมีกรอบเวลา (โดยเฉพาะการศึกษากี่ยวกับพฤติกรรม)



โดย

อาจารย์อัจฉรา  สกุนตนิยม               เลขานุการ

อาจารย์ ดร.เบญจมาศ  ศิริกมลเสถียร  ประธานกรรมการ

ผศ. ดร.บุษบา  สงวนประสิทธ์            ที่ปรึกษา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your share.