วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

การพัฒนาห้องปฏิบัติการพยาบาลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนการสอน



แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง “การพัฒนาห้องปฏิบัติการพยาบาลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนการสอน”
จัดทำคู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการ ดังนี้

  1. หน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการพยาบาล หัวหน้าสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  2. ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการพยาบาลต่าง ๆได้แก่ การใช้ห้อง การยืมคืน และข้อปฏิบัติต่าง ๆ
  3. ระบุรายการหุ่นหรือหุ่นจำลอง พร้อมทั้งวิธีการใช้งาน
  4. จัดทำรายการวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์แต่ละสาขาวิชา ได้แก่การพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์  การพยาบาลผู้ใหญ่/การพยาบาลพื้นฐาน การพยาบาลครอบครัวและชุมชน  ทั้งนี้ให้มีการระบุอุปกรณ์และจำนวนที่จำเป็นแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง และมีความเพียงพอ
  5. จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาห้องปฏิบัติการพยาบาล โดยมีการกั้นห้อง และติดแอร์เพื่อให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้
  6. ประเมินความพึงพอใจ หรือสะท้อนคิดหลังการปรับปรุงห้องปฏิบัติการพยาบาล จากนิสิตและอาจารย์


ทำอย่างไรถึงจะผลักดันให้เกิดงานวิจัยหรือบทความวิชาการสู่การตีพิมพ์



  1. สร้างแรงจูงใจในการผลิตผลงานวิจัย (มีการยอมรับ  การสร้างคุณค่าในตัวบุคคล มอบประกาศกิตติคุณ  ขั้นในweb ของวิทยาลัย  หรือติดบอร์ด  และเงินสนับสนุนจากวิทยาลัยฯ
  2. มี Peer review ที่ได้ตามคุณสมบัติ (มีความเป็นมิตร มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน ) 
  3. มีการจัดการบริหารเวลาให้กับอาจารย์ที่ผลิตผลงานวิจัย
  4. ควรมีการจัด Preceptor ขึ้นแทน เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้มีช่วงเวลาในการผลิตผลงานวิชาการ
  5. อาจารย์แต่ละท่านที่จะทำวิจัยต้องส่ง Time line ของตนเองก่อนการจัด master plan  เพื่อให้ฝ่ายวิชาการได้จัดสรรเวลาที่เอื้อต่อการทำงานวิจัย
  6. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน ช่วยในการดำเนินการด้านเอกสารและการประสานงานในขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
  7. กลุ่มงานวิจัยควรมีการสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง/พื้นที่ และแหล่งทุน เพื่อสนับสนุนให้เกิดงานวิจัย
  8. แต่งตั้งผู้เชียวชาญแต่ละสาขา ที่จะสนับสนุนให้นักวิจัยได้เข้ารับการปรึกษา และเปิดโอกาสให้ผู้วิจัยแต่ละท่านได้เลือกผู้เชี่ยวชาญเอง โดยให้แรงจูงใจกับผู้ให้คำปรึกษาตามความสำเร็จของผลงานวิจัย