โดยปกติในแต่ละวันร่างกายจะได้รับกรดจากอาหารและกระบวนการ
metabolism และมีการขับกรดออกจากร่างกายส่วนใหญ่ โดย การหายใจ
และการขับปัสสาวะ เพื่อรักษาภาวะสมดุลของกรด ด่างในร่างกายให้คงตัว โดยมี pH
ในเลือดแดง (arterial blood pH) ประมาณ 7.4 หาก pH มีการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าปกติจะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป เช่น ถ้าร่างกายอยู่ใน ภาวะที่ เป็น กรดมาก คือ
ค่า pH น้อยกว่า 6.8 จะเป็นสาเหตุของโคม่า
(coma) และเสียชีวิตในที่สุดและถ้าร่างกายอยู่ในสภาวะที่เป็นด่างมากเกินไป
คือ ค่า pH มากกว่า 7.8 อาจทำให้เกิดการชักกระตุก
หรือชัก (convalsion) และเสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้
ความเข้าใจเรื่องความไม่สมดุลของกรด ด่างในร่างกาย
เพื่อค้นหาความผิดปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
กลไกการป้องกันภาวะกรด
ด่างของร่างกาย ประกอบด้วย
1. ระบบบัฟเฟอร์ (Buffer system) เป็นด่านแรกที่ป้องกันและลดอันตรายจากการคั่งของ
H+ ได้อย่างรวดเร็วที่สุด
บัฟเฟอร์คือสารละลายกรดอ่อนหรือด่างอ่อนที่อยู่ใน ECF และ ICF มีหลายชนิด เช่น กรดอะซิติก กรดคาร์บอนิก กรดซิตริก
และแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ ซึ่งทุกตัวมีส่วนช่วยในการควบคุมกรดด่างด้วยกลไกทางเคมี
2. การปรับ pCO2
ในเลือด (โดยการปรับอัตราการหายใจ) ปอดตอบสนองต่อกรด
ด่าง โดยการเพิ่มหรือลดอัตราการหายใจ (ventilation)
ซึ่งเป็นตัวกำหนดค่า pCO2 ถ้า
อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น จะทำให้ค่า pCO2 ลดลง
หรือถ้าอัตราการหายใจลดลง ค่า pCO2 จะมีค่าเพิ่มขึ้น ในภาวะ acidosis [H+] จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้น
ร่างกายจึงพยายามเพิ่ม pH ในเลือดโดยการกระตุ้นระบบการ
หายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจแรงและลึก เพื่อระบาย CO2 ออกทางลมหายใจ ทำให้ pCO2 และกรดคาร์บอนิคในเลือดลดลง
ในขณะที่ภาวะ alkalosis [H+] จะมีค่าลดลง จึงมีผลทำให้อัตราการหายใจลดลง เพื่อให้มีการสะสมของ H+
ในเลือดมากขึ้น
3.
การปรับการขับกรดที่ไต ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายที่ตอบสนองต่อความผิดปกติของกรด
ด่างที่ดีที่สุด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าของ pCO2 ใน plasma ไตจะปรับอัตราการขับ
HCO3- และกรด ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายวัน
ในการตอบสนองให้สมบูรณ์ในภาวะ acidosis ( [H+] หรือ pCO2
เพิ่มขึ้น ) ไตจะเพิ่มการหลั่ง H+ และเพิ่มการดูดกลับ
HCO3- มากขึ้น การสร้าง HCO3- ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
จึงมีผลทำให้ HCO3- ใน
plasma เพิ่มขึ้น ภาวะ alkalosis
( [H+] หรือ pCO2 ลดลง ) การหลั่ง H+
ที่ท่อไตจะถูกยับยั้งและการดูดกลับของ HCO3- ลดลง ทำให้ HCO3-
ใน plasma ลดลง
ความผิดปกติของกรด
– ด่าง ( Acid – Base disorders )
1. ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ
(metabolic acidosis)
2. ภาวะกรดจากการหายใจ
(respiratory acidosis)
3. ภาวะด่างจากกระบวนการเผาผลาญ
(metabolic alkalosis)
4. ภาวะด่างจากการหายใจ
(respiratory alkalosis)
ภาวะกรดจากกระบวน การเผาผลาญ (Metabolic
acidosis)
สาเหตุ
|
การประเมินสภาพของร่างกาย
|
การพยาบาล
|
1. มีการสร้างกรดมากขึ้น
2.ร่างกายไม่สามารถกำจัดกรดได้
3.สูญเสียไบคาร์บอเนตมาก
ทำให้เลือดเป็นกรดเช่น
ภาวะ diabetic ketoacidosis
4. มีภาวะกรดในร่างกาย เช่น ช็อก ไตวาย ติดเชื้อ ขาดอาหาร พร่องออกซิเจน และท้องเสีย เป็นต้น
|
1. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ : ABG พบ pH < 7.35 HCO3 <
22 mEq/L PCO2 ปกติหรือลดลงเมื่อมีการชดเชยแล้ว
2. มีอาการซึม สับสน หายใจเร็วลึก หายใจมีกลิ่นผลไม้
ปวดศีรษะ ชัก คลื่นไส้อาเจียน หลอดเลือดส่วนปลายขยายทำให้มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจ (cardiac
output) ใน 1 นาทีลดลง
3. ผลเลือดอาจพบ ระดับ potassium และ chloride เพิ่มขึ้น
|
1. ประเมินสภาพผู้ป่วยโดย
ติดตามสัญญาณชีพ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและระดับความรู้สึกตัว ระดับอิเลคโทรลัยท์
โดยเฉพาะ K และ Cl
2. ดูแลให้ได้รับด่างทดแทน (Bicabonate) ตามแผนการรักษาของแพทย์
3. ติดตาม ตรวจสอบและบันทึก
คลื่นไพฟ้าหัวใจเนื่องจากอาจมีระดับ
K สูงได้
|
สาเหตุ
|
การประเมินสภาพของร่างกาย
|
การพยาบาล
|
1.
ร่างกายได้รับด่างมากเกินไป เช่น NaHCO3 เพื่อรักษาแผลในกระเพาะ
อาหาร
2. สูญเสียกรดจำนวนมากเช่น
อาเจียน
3.ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น มีการอุดตัน
การติดเชื้อ
และหยุดหายใจ
4. ระบบประสาทส่วน
กลางถูกกดจากยา
เช่น มอร์ฟีน ยาสลบ
|
1. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
: ABG พบ pH < 7.35 PCO2 > 45 มม.ปรอท
HCO3 ปกติ หรือสูงเล็กน้อย (ระยะ
เฉียบพลัน)
หรือสูงกว่าปกติ (ในรายเรื้อรังหรือมีการชดเชยแล้ว) และพบ K+ และCa2+
อาจสูงขึ้น
2. สัญญาณชีพและอาการทางระบบประสาทผิดปกติ
โดยมีหัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก หายใจช้า ฟังปอดพบเสียงผิดปกติ ซึม อ่อนแรง สั่น
รีเฟล็กซ์
ลดลง
กระสับกระส่ายและหมดสติ อาจพบอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง
|
1. ประเมินสภาพผู้ป่วยโดย
ติดตามสัญญาณชีพ อัตราการเต้น
ของหัวใจ
ความดันโลหิตและ
ระดับความรู้สึกตัว
2. ติดตาม ตรวจสอบและบันทึก
คลื่นไพฟ้าหัวใจเนื่องจากอาจมีระดับ
K สูงได้
3. ให้ออกซิเจนในรายที่มี PaO2
< 90 มม.ปรอท
4. ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
เพื่อ ป้องกันและลดการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ
เช่น การดูดเสมหะ
5.
จัดให้นอนศีรษะสูงเมื่อผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ
|
สาเหตุ
|
การประเมินสภาพของร่างกาย
|
การพยาบาล
|
1. สูญเสียกรด เช่น การอาเจียน
หรือน้ำย่อยในกระเพาะถูกดูดออกไป
2. ได้รับยาขับปัสสาวะจึงขับโปตัสเซียมและไฮโดร
เจนไอออน
3. ได้รับด่างเพิ่ม เช่น ได้ยาลดกรด
ดื่มนมมาก
|
1. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
: ABG พบ pH > 7.45
PCO2 ปกติ(ยังไม่ชดเชย) หรือสูงกว่าปกติ
(หากชดเชยแล้ว) HCO3 > 26 mEq/L
2. ระดับ K และ Ca ลดลง EKG
อาจพบ T และ U wave ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากนี้อาจมีอาการชา กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ชัก สับสน ชัก หมดสติ หายใจช้า ตื้น
3. ระบบทางเดินอาหาร อาจคลื่นไส้อาเจียน
|
1. ประเมินสภาพผู้ป่วยโดย
ติดตามสัญญาณชีพ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและระดับความรู้สึกตัว ระดับอิเลคโทรลัยท์
โดยเฉพาะ K Cl และ Ca
2. ควบคุมการสูญเสียกรดน้ำย่อยจากท่อระบาย
3. ดูแลการได้รับ K
Bicabonate และ Ca ตามแผนการรักษาของแพทย์
|
สาเหตุ
|
การประเมินสภาพของร่างกาย
|
การพยาบาล
|
1. หายใจแรงลึก(Hyperventilation)
2. ปัญหาจิตใจ เช่น วิตกกังวล
3. ศูนย์หายใจถูกกระตุ้นให้หายใจออกเร็วและลึก
จากภาวะ สมองอักเสบ ไข้สูง
|
1. ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
: ABG พบ pH > 7.45
HCO-3 ปกติ(ยังไม่ชดเชย) หรือต่ำกว่าปกติ
(หากชดเชยแล้ว) PaCO2 < 35 มม.ปรอท
2. สัญญาณชีพ พบการหายใจเร็ว ลึก
ต่อมาหายใจช้าลงหรือหยุดหายใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น รู้สึกตัวลดลง
2. ระดับ K และ Ca ลดลง
3. มึนศีรษะ เหงื่อออก ตาพร่า
ชาตามปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ชัก รีเฟล็กซ์ไวขึ้น อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
|
1. ประเมินสภาพผู้ป่วยโดย
ติดตามสัญญาณชีพ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและระดับความรู้สึกตัว ระดับอิเลคโทรลัยท์
โดยเฉพาะ K และ Ca
2. ดูแลเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย เช่น
การเปิดโอกาสให้
ผู้ป่วย
ซักถาม ระบายความรู้สึก
3. ช่วยลดการหายใจเร็วในผู้ป่วย
โดยให้หายใจช้าและลึกมากขึ้นให้หายใจในถุง
4. ดูแลให้ได้รับยาเพื่อลดอัตรา
เร็วในการหายใจจะต้องระมัดระวังการได้รับยามากเกินจนไปกดศูนย์การหายใจ
|
เอกวสรอ้างอิง
วรนุช
เกียตริพงษ์ถาวร (2549)
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะไม่สมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ใน
เอกสารการสอนชุดวิชา
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ หน่วยที่ 6-10 หน้าที่ 113-189 พิมพ์ครั้งที่ 5 นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อารี ชีวเกษมสุข (2553) การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาติดเชื้อ การเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในระยะ
เฉียบพลัน วิกฤตและเรื้อรัง เอกสารประกอบการสัมนาวิชาการบัณฑิตพยาบาล มสธ: นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Joyce,
M. Black., & Jane. Hokanson. Hawks. ( 2005 ). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มี
ปัญหาสุขภาพ. ผ่องศรี ศรีมรกต. ( บรรณาธิการ ). กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ป เพรส.
Suzanne C. Smeltzer
and etc.( 2010 ). Brunner & Suddarth’s textbook of medical –
surgical
nursing. Twelfth edition. New
York : Lippincott Williams & Wilkins.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Thank you for your share.