วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รายงานการประชุม CoP กลุ่ม: การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้วยการจัดการความรู้

รายงานการประชุม CoP กลุ่ม: การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้วยการจัดการความรู้
ครั้งที่ 1 วันที่ 8 เม.ย. 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ครั้งที่ 2 วันที่ 11 เม.ย. 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น.


มีอาจารย์เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนจำนวน 16 คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้ ประเด็นปัญหาอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการประเมินผล
  1. มีการปรับเปลี่ยนการทำงานจากพยาบาลประจำการเป็นอาจารย์ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับ 
    • ไม่คุ้นเคยกับการเป็นอาจารย์ ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง 
    • ต้องเตรียมความรู้มากชึ้น เพราะต้องเป็นอาจารย์นิเทศในหอผู้ป่วยที่ไม่ คุ้นเคย เช่น การปรับเปลี่ยนการทำงานจากพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยศัลยกรรมมาเป็นอาจารย์นิเทศหอผู้ป่วยอายุรกรรม 
    • ยังไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติหรือประสบการณ์ 
  2. การที่มีองค์ความรู้ไม่มากพอทำให้อาจารย์เกิดความไม่มั่นใจ และไม่ทราบว่าสิ่งที่จะต้องสอนมีขอบเขตเนื้อหามากน้อยแค่ไหน 
  3. อาจารย์เกิดความไม่มั่นใจในการทำหัตถการบางอย่างที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งอาจทำให้นิสิตไม่เชื่อถือ 
  4. อาจารย์ใหม่มีเวลาเตรียมความพร้อมก่อนการสอนทฤษฎีน้อย สำหรับการนิเทศภาคปฏิบัติ มีประสบการณ์ผ่านการฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยที่ต้องนิเทศน้อยเพียง 4 สัปดาห์ 
  5. จัดให้อาจารย์ใหม่สอนทฤษฎีและปฏิบัติเร็วเกินไป (หลังฝึกประสบการณ์บนหอผู้ป่วย 4-6 เดือน) ซึ่งระยะเวลาการเรียนรู้น้อยทำให้ปฏิบัติงานด้านการสอนทฤษฎีและปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ 
  6. อาจารย์บางคนสอนทฤษฎีและปฏิบัติ ในขณะที่ยังไม่ได้เรียนครูคลินิก ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการสอน 
  7. การเตรียมสอนนิสิตแต่ละหลักสูตรแตกต่างกัน เช่น การเตรียมสอนนิสิตพยาบาลศาสตรบัณฑิต (จพช.) ใช้เวลาเตรียมสอนค่อนข้างมาก ซึ่งอาจารย์แต่ละคนอาจจะไม่เข้าใจหลักสูตรแต่ละหลักสูตร ซึ่งการไม่เข้าใจหลักสูตรทำให้การบูรณาการเชื่อมโยงไม่มีประสิทธิภาพรวมทั้งหลัก สูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตกับพยาบาลศาสตรบัณฑิต (จพช.) มีลักษณะผู้เรียนที่แตกต่างกันทำ ให้การเตรียมตัวสอนของอาจารย์ไม่เหมือนกัน อาจารย์ต้องปรับตัวมากและบางครั้งไม่มั่นใจ 
  8. ขณะส่งฝึกปฏิบัติงานเตรียมความพร้อมอาจารย์ใหม่ วิทยาลัยฯเรียกประชุมบ่อยทำให้เวลาเรียนรู้งานที่หอผู้ป่วยน้อย และเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดี (ภาพลักษณ์ที่ไม่ดี คือ แหล่งฝึกปฏิบัติคิดว่าเวลาที่วิทยาลัยฯให้อาจารย์ใหม่เรียนรู้งานน้อยเกินไป) 
  9. การมีภาระงานอื่นนอกจากการเรียนการสอนทำให้ทำงานยากขึ้น และภาระงานหลายอย่างทำให้อาจารย์ใหม่ค่อนข้างเครียด เกิดปัญหากับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น เมื่อเป็นอาจารย์ใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่คือ การเรียนการสอน แต่นอกจากการเรียนการสอนอาจารย์ใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้งานอื่นร่วมด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น ต้องเป็นหัวหน้างานตามโครงสร้างวิทยาลัยฯ ทำให้การเรียนรู้งานเกี่ยวกับการเรียนการสอนน้อยลง 
  10. อาจารย์พี่เลี้ยงอาจารย์ใหม่ (Coaching) ไม่ชัดเจน รวมทั้งอาจารย์พี่เลี้ยงบางคนไม่มีเวลาให้ ทำให้อาจารย์ใหม่ได้รับการสอนงานค่อนข้างน้อย 
  11. หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการให้การยอมรับอาจารย์ใหม่ค่อนข้างน้อย และหากเป็นอาจารย์ที่อายุน้อยการยอมรับก็น้อยเพิ่มมากขึ้น 
  12. วิทยาลัยฯ มีอาจารย์น้อยจึงจำเป็นต้องให้อาจารย์สอนภาคปฏิบัติไม่ตรงตามความเชี่ยวชาญ ทำให้อาจารย์เครียดและส่งผลกระทบต่อนิสิต เช่น อาจารย์มีความเชี่ยวชาญการพยาบาลเด็กแต่จำเป็นต้องช่วยสอนภาคปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 
  13. อาจารย์ให้คะแนนนิสิตแบบไม่มีอำนาจจำแนก ให้คะแนนนิสิตทุกคนเท่ากัน สามารถแยกเด็กได้ และทำให้การตัดเกรดไม่ยุติธรรม 
  14. อาจารย์บางคนยังไม่เข้าใจระบบและวิธีการตัดเกรด 
  15. อาจารย์นิเทศ pre conference นานมาก ทำให้นิสิตไม่ค่อยได้ทำ กิจกรรมการพยาบาล 

ประเด็นปัญหาอาจารย์ใหม่ ปัญหาด้านคุณธรรม
  1. รับผิดชอบ พบว่า ครูบางคนมีพฤติกรรมเข้าห้องเรียน / ขึ้นนิเทศนิสิตที่ โรงพยาบาลช้า 
  2. แต่งตัวไม่เหมาะสม 
  3. ไม่เป็นกัลยาณมิตร ดุนิสิตและขาดเหตุผลในการตำหนินิสิต 
  4. ไม่ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อสอนนิสิต 

แนวทางการแก้ไขปัญหาอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการการบริหารจัดการ
  1. อาจารย์ใหม่ควรเรียนรู้โครงสร้างของหน่วยงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (วิทยาลัยฯ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ฯลฯ) เพื่อจะได้ทราบระบบการบริหารและงานในหน่วยงาน นอกจากนี้ควรเรียนรู้เรื่องระบบการเบิกจ่ายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน กับการเงินและเลขาวิชาการ 
  2. หน่วยงานควรจัดปฐมนิเทศโดยพบผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา และอธิบายความรับผิดชอบต่างๆ เช่น ทำงานอยู่ในภาควิชาอะไรและต้องรับผิดชอบงานอะไรบ้างในภาควิชา นอกจากนี้จะต้องอธิบายงานอื่นๆ (งานตามโครงสร้างวิทยาลัยฯ) ที่ต้องทำนอกจากงานการเรียนการสอน มคอ. 3 4 5 และ 6 รวมทั้งระบบการเบิกจ่ายของวิทยาลัยฯ 
    1. เข้าพบหัวหน้างานพัฒนาบุคลากร หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้างาน เพื่อมอบคู่มืออาจารย์ใหม่ (จากหัวหน้างานพัฒนาบุคลากร) และวางแผนการทำงานของอาจารย์ใหม่ร่วมกัน 
    2. สัปดาห์ที่ 1 ศึกษางานในวิทยาลัยฯกับรองผู้อำนวยการ 
    3. สัปดาห์ที่ 2 เรียนรู้งาน IC ของ รพ.นพรัตนราชธานี โดยการฝึกประสบการณ์พิจารณา ดังนี้ 
    4. อาจารย์ใหม่ที่มีประสบการณ์ ให้ฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยต่างๆ 4 – 6 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการสอนนิสิต โดยต้องฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล เป็นระยะเวลา 2 เดือน และเตรียมความพร้อมก่อนการสอนนิสิต โดยต้องฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยที่ตรงกับความเชี่ยวชาญของตนเอง เป็นระยะเวลา 4 เดือน 
  3. อาจารย์ใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ ให้ฝึกปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยต่างๆ และควรมี ครูพี่เลี้ยงที่คอยให้ข้อเสนอแนะ เป็นระยะเวลา 2 ปี 
  4. ควรให้อาจารย์ใหม่สังเกตการสอนของอาจารย์ที่มีประสบการณ์ โดยสังเกตการสอนภาคทฤษฎีอย่างน้อย 6 ครั้ง (ในภาควิชา 3 ครั้ง นอกภาควิชา 3 ครั้ง) และภาคปฏิบัติต้องสังเกตการณ์สอนอย่างน้อย 1 Section ของวิชาที่มีในภาควิชา โดยในภาควิชาให้หัวหน้าภาคเป็นผู้กำหนดการสังเกตการณ์สอน แต่การสังเกตการสอน นอกภาควิชาให้อาจารย์ใหม่เลือกเข้าสังเกตการได้ตามต้องการ แต่ต้องแจ้งอาจารย์สอนล่วงหน้าด้วย 
  5. ควรมีการประเมินการสอนอาจารย์ใหม่โดยรองวิชาการ หัวหน้าภาค และหัวหน้าวิชา และให้รายงานผลแก่รองวิชาการ 
  6. อาจารย์ทุกคนควรมีการจัดทำแฟ้มปฐมนิเทศประจำหอผู้ป่วย โดยกำหนดสิ่งที่นิสิตต้องได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานหอผู้ป่วย แต่ละวิชา 
  7. อาจารย์ควรมีการฝึกทักษะการพยาบาลก่อนขึ้นตึกหากอาจารย์ยังไม่มั่นใจหรือยังไม่เคยมีประสบการณ์การฝึกในหอผู้ป่วยนั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้อาจารย์มีความมั่นใจมากขึ้น โดยการฝึกทักษะในหอผู้ป่วยให้อาจารย์ตรวจสอบภาระงานตาม Master plan และตรวจสอบช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกทักษะเพิ่มเติมและให้แจ้งรองวิชาการเพื่อจะได้ทำหนังสือแจ้ง โรงพยาบาล 

แนวทางการแก้ไขปัญหาอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการการเรียนการสอน ภาคทฤษฎี
  1. อาจารย์ใหม่ต้องทำแผนการสอน และต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากครูพี่เลี้ยง ทุกครั้งก่อนสอน เพื่อสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับความถูกต้องของเนื้อหา ความครอบคลุมและขอบเขตเนื้อหา 
  2. อาจารย์ต้องทำความเข้าใจกับหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้ จึงจะ กำหนดขอบเขตเนื้อหาได้ ซึ่งการกำหนดขอบเขตเนื้อหาควรมาจากการประชุมพิจารณาจากภาควิชา อาจใช้หลักการพิจารณาง่าย ๆ ว่า สิ่งใดที่ต้องรู้ ควรรู้ น่ารู้ แล้วไปกำหนดวัตถุ ประสงค์ในการเรียนรู้ 
  3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรจัดหลากหลาย เพราะจะทำให้นิสิตสนใจ จัดบรรยาย อย่างเดียวจะทำให้นิสิตหลับ (การออกแบบกิจกรรมอาจเริ่มจากที่ตนเองถนัดก่อน) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อาจใช้ทฤษฎีหลากหลาย เช่น ทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีทางจิตวิทยา หรือ ทฤษฎี constructivism การวางแผนการสอนที่ดีย่อมน่าจะสอนได้ดี 
  4. การสอนทฤษฎีควรใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เช่น VDO สถานการณ์ปัจจุบัน สถานการณ์จริง หรือสถานการณ์บนหอผู้ป่วย หรือศึกษาดูงาน จะกระตุ้นนิสิตให้สนใจเรียนรู้ 
  5. การดูแบบอย่างการสอนที่ดีที่จะนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ เช่นการสังเกตการณ์ การสอนของอาจารย์ที่มีผลการประเมินการสอนดี 
  6. เทคนิคการสอนในห้องเรียนบางอย่าง เช่น การให้นิสิตมา present หน้าชั้นเรียน นิสิตที่นั่งฟังอาจไม่สนใจ อาจต้องหากลยุทธ์ เช่น ขณะที่เพื่อนกำลัง present ครูจะออกข้อสอบไปด้วย เป็นต้น 

แนวทางการแก้ไขปัญหาอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการการภาคปฏิบัติ
  1. การแบ่งกลุ่มการฝึกปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย ควรแบ่งกลุ่มคละนิสิตอ่อนและเก่ง เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือกัน 
  2. อาจารย์ไม่ควรใช้เวลาในการ pre conference นาน เพราะจำทำให้นิสิตปฏิบัติการ พยาบาลน้อยลง อาจารย์ควรใช้เวลาประมาณ 30 นาที หากมีนิสิต 2 ทีม อาจ pre conference ที่ละทีม โดยให้อีกทีมไปดูแลผู้ป่วยก่อน กรณี ผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกัน ให้ Conference เด็กพร้อมกัน โดยอาจถามนิสิตว่ามีการดูแลเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 
  3. อาจารย์ควร Round ผู้ป่วยเพื่อให้รู้อาการก่อน pre conference 
  4. ขณะ pre conference ถ้าอาจารย์ถามนิสิตแล้วนิสิตตอบไม่ได้ อย่ารอให้นิสิตหาคำตอบ แจ้งให้นิสิตไปหาคำตอบแล้วมาคุยกัน อาจเป็นช่วง post conference ที่อาจารย์อาจนำเรื่องที่เกี่ยวกับทฤษฎีมา discussion กับประสบการณ์ที่นิสิตพบ ซึ่งตอนเช้าไม่สามารถทำได้เนื่องจากเวลาไม่พอ 
  5. การพิจารณามอบหมายงานให้นิสิตอาจพิจารณาหลายประเด็น โรคที่เรียนในทฤษฎีที่พบบ่อย ที่สำคัญแต่พบไม่บ่อย 
    • -ผู้ป่วยหนัก นิสิตจะได้ทำกิจกรรมเฉพาะอย่าง เช่น ตรวจสอบสัญญาณชีพ ทุก 1-4 ชม การบันทึก Urine output การให้อาหาร Complete bed bath เป็นต้น แต่ไม่สามรถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ 
    • -ผู้ป่วยอาการไม่หนัก ช่วยเหลือกตัวเองได้ เมื่อนิสิตปฏิบัติกิจกรรมกับผู้ป่วยเสร็จแล้ว ยังสามารถไปช่วย Ward ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก  ***ดังนั้นอาจารย์ต้องชั่งน้ำหนักว่าจะมอบหมาย case อย่างไร กับนิสิตแต่ละคน 
  6. การ check chart ผู้ป่วยที่นิสิตรับผิดชอบตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายของ chart เป็นเทคนิคการสอนภาคปฏิบัติที่อาจารย์อาจนำไปใช้ เพราะเป็นการสอบทานว่านิสิตรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับผู้ป่วย ประเมินสภาพผู้ป่วยได้หรือไม่ เข้าใจองค์รวมของผู้ป่วยหรือไม่ 

แนวทางการแก้ไขปัญหาอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการการประเมินผล
  1. การประเมินผลอาจารย์ต้องจำแนกนิสิตให้ได้ว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันอย่างไร ใคร ควรเป็นกลุ่ม A B C ก็ต้องประเมินคะแนนให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ใช่ประเมินคะแนนเท่ากันหมด นอกจากนี้ต้องพิจารณาคะแนน หากคะแนนมาจากคะแนนกลุ่มโดยส่วนใหญ่ ซึ่งนิสิตในกลุ่มจะได้คะแนนเท่ากัน ก็จะมีผลทำให้ เกรดใดเกรด A อยู่ในกลุ่มที่ได้คะแนนมาก และกลุ่มที่ได้คะแนนน้อยจะเป็น C ดังนั้นการพิจารณาคะแนนกลุ่มและคะแนนเดี่ยวต้องพิจารณาด้วยว่า น้ำหนักคะแนนสามารถจำแนกนิสิตได้ 
  2. การตัดเกรดภาคปฏิบัติหากตัด T score ต้องมีนิสิต 10 คนขึ้นไป แต่ถ้าไม่ถึง 10 คนให้ตัดเกรดโดยใช้ percentile การรวมคะแนนดิบของนิสิตที่ฝึกปฎิบัติ แล้วตัดเกรดต้องพิจารณาว่า นิสิต 1 คน ควรผ่านการวัดและประเมินผลจากอาจารย์ทุกคน 
  3. นิสิตทุกคนควรได้รับการทดสอบทักษะที่จำเป็นก่อนสิ้นสุดการฝึกปฏิบัติงานแต่ละ หอผู้ป่วย และควรมีการสอบความรู้รวบยอดของแต่ละวิชาเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติ 
  4. อาจารย์ต้องประเมินผลย้อนกลับนิสิตให้เร็วไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลการทำ Nursing care plan dialy plan หรือการประเมินผลการสอน ควรแจ้งผลแก่นิสิตเร็วเท่าที่จะเร็วได้ นิสิต จะได้ทราบสิ่งที่ควรแก้ไข ปรับปรุง เช่น ช่วงเช้าขณะนิสิต Pre conference ให้อาจารย์ตรวจ Nursing care plan หรือ dialy plan คร่าว หรืออาจเป็นช่วงกลางวันแล้วแจ้งสิ่งที่นิสิตต้องแก้ไขช่วง Post conference 
  5. อาจารย์นิเทศควรแจ้งประสบการณ์ที่นิสิตยังไม่ได้รับ หรือทักษะการพยาบาลที่นิสิตยังปฏิบัติไม่ได้ แก่อาจารย์ที่นิสิตคนต่อไป แต่ไม่ควรส่งเวรเกี่ยวกับพฤติกรรมของนิสิตเพราะจะทำให้นิสิตไม่ได้รับความเป็นธรรมจากอคติของอาจารย์ได้ 
  6. ควรมีการจัดโครงการอบรมเรื่องการเรียนการสอน การประเมินผล (วิธีการสอนแบบต่าง ๆ และการประเมินผล การเขียนแผนการสอน) เพื่อให้อาจารย์มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น หรือการเข้าประชุมเพื่อฟังและเสนอความคิดเห็นในลักษณะนี้ จะเป็นประโยชน์มากกับอาจารย์ใหม่ 

ประเด็นปัญหาด้านคุณธรรมจริยธรรม
  1. อาจารย์ต้องเป็นแบบอย่าง วางตัวให้เหมาะสม (รับผิดชอบบทบาทของความเป็นครู แต่งตัวให้เหมาะสมกับความเป็นครู) เมตตา (รักนิสิต ไม่ทำร้ายนิสิต) รับผิดชอบ ใฝ่หาความรู้และมีเหตุผล การที่อาจารย์ใจดี แต่ไม่สอน ไม่สนใจนิสิต ก็ไม่ใช่อาจารย์ที่ดี จะดุ จะว่านิสิต ต้องมีเหตุผล แสดงออกให้นิสิตรู้สึกว่าทำเพราะหวังดี นิสิตสามารถรับรู้ตรงนี้ได้ 
  2. อาจารย์ไม่ควรดุนิสิตต่อหน้าผู้ป่วย เพราะจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ และจะทำให้นิสิตไม่มั่นใจในตนเอง 
  3. อาจารย์ที่ดีควรเข้าหา เข้าใจ เข้าถึงนิสิต เพื่อให้นิสิตไว้วางใจในตัวอาจารย์และเล่าถึงปัญหาให้อาจารย์ฟัง เพราะมีความรู้สึกว่าอาจารย์เป็นที่พึ่ง 
  4. การลงโทษอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร ควรพูดกันดีกว่า และครูต้องขอโทษเป็นหากครู กระทำไม่เหมาะสม หรือผิดพลาด และครูไม่ควรตำหนินิสิตในสิ่งที่ครูทำไม่ได้ เพราะจะทำให้เสียความน่าเชื่อถือได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your share.