ความเป็นมาของการจัดการความรู้

ความเป็นมาของการจัดการความรู้

ตามที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑  กำหนดไว้ว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและจากมาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ ๓  กำหนดให้สถาบันมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์”

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ  สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีจึงมีการนำระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management)  มาใช้ทั้งนี้การจัดวางระบบการจัดการความรู้และแผนดำเนินงานโดย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ  ได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้เพื่อดำเนินงานการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพ ต่อไป

ความสำคัญของการจัดการความรู้
ปัจจุบันถือว่าเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้  (Knowledge-Based Economy)  ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัยการสร้างการกระจายและการใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทำให้เกิดการเติบโตสร้างความมั่งคั่งจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงานจากการแข่งขันในเชิงขนาดเป็นการแข่งขันที่ต้องใช้ความเร็วสร้างความได้เปรียบด้านการผลิตโดยอาศัยสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้  เช่น  ความรู้ทักษะและประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีมากขึ้น  จะเห็นได้ว่าความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กรไม่มีขีดจำกัดยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มยิ่งสามารถเรียนรู้ในสิ่งใหม่ได้มากขึ้นเท่านั้น  จากความสำคัญของความรู้ดังกล่าวจึงเกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)  โดยมีกระบวนการที่เป็นระบบในการค้นหาสร้างรวบรวมจัดเก็บเผยแพร่ถ่ายทอดแบ่งปันและใช้ความรู้นั้นเพื่อประโยชน์ขององค์กรนอกจากภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้แล้วภาครัฐก็ตื่นตัวในเรื่องนี้เช่นกัน  ดังจะเห็นได้จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ. ๒๕๔๖  มาตรา ๑๑  กำหนดไว้ว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอโดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆเพื่อนามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมี

การเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดการความรู้ (Knowledge Management)  หมายถึง  การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร  มาพัฒนาให้เป็นระบบมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) ของตัวบุคคล ถ่ายทอดออกมาและนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบงานพัฒนาคนและพัฒนาองค์การสู่การปฏิบัติงานที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
1. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถระดับบุคคล
2. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถองค์กร
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความสำเร็จขององค์กร
5. เพื่อสร้างนวัตกรรมขององค์กร
6. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ขององค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your share.