วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างเครื่องมือวิจัย (ปีการศึกษา 2559)

แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างเครื่องมือวิจัย

             โดย กลุ่ม CoP:  การสร้างเครื่องมือวิจัย
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีดังนี้
·       การสร้างเครื่องมือวิจัย เริ่มจากการพิจารณาวัตถุประสงค์ของการวิจัย ชนิดของการวิจัย และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง  คำจำกัดความ  กลุ่มเป้าหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล
·       การสร้างเครื่องมือ ควรพิจารณา
1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2) ชนิดของการวิจัย
           3) ครอบคลุมทั้ง เนื้อหา (content) ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและคำจำกัดความ และ กรอบแนวคิดการวิจัย (construct/ conceptual framework)
                  การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย การพิจารณาใช้ model และ concepts ขึ้นอยู่กับกลุ่มอายุ ซึ่งได้จากการ review และการสำรวจด้วยตนเอง
      4) กลุ่มเป้าหมาย
      5) การวิเคราะห์ข้อมูล
      6) การใช้แบบสอบถามแบบ scale จะใช้กับความคิดเห็น ทัศนคติ ไม่ควรใช้กับ fact เพราะมีแค่ ใช่
และ ไม่ใช่ ถ้าเป็น scale จะทำให้ตอบยาก
·       แบบสอบถามวัดอะไรบ้าง
- ข้อเท็จจริง
- ความรู้
- ทัศนคติ การรับรู้
- พฤติกรรม
·       โครงสร้างแบบสอบถาม ประกอบด้วย
- บทนำ คำชี้แจง
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- คำถามตามวัตถุประสงค์/ กรอบแนวคิด

·       ประเภทคำถามที่ใช้ แบ่งเป็น
- แบบปลายเปิด
- แบบเติมคำในช่องว่าง
- แบบปลายปิด
- Matching
- True/ False
- Ranking
·       ข้อเสนอแนะในการทำแบบสอบถาม มีดังนี้
-          การทำแบบสอบถาม ควรคำนึงถึง อายุ ของกลุ่มเป้าหมาย สร้างแบบสอบถามให้เหมาะสมกับแต่ละวัย
-          ไม่ควรมีข้อคำถามมากเกินไป
-          Clarity ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ได้แก่ ทุกวัน, 2-6 ครั้งต่อสัปดาห์
-          เลี่ยงคำศัพท์
-          Scales สมดุล ไม่ซ้ำกัน
-          เลี่ยงคำถามที่ทำให้อึดอัดใจ
-          เรียงจากง่ายไปยาก
-          ไม่ใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
-          ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
ตัวเลือกคำถามความรู้ต้องรวมคำตอบ ไม่ทราบ/ ไม่แน่ใจ
-          ควรมีกรอบเวลาในการวัด (โดยเฉพาะพฤติกรรม)
-          ในการเก็บข้อมูลควรพิจารณาว่า จะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรด้วย
·       ตัวอย่าง 
-  งานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของวิทยาลัย  เป็น Descriptive research เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และการดำเนินการจัดการความรู้ โดยการดำเนินการจัดการความรู้นี้นำแนวคิดมาทำเป็นข้อคำถาม มีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจเครื่องมือ
                      ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยเรื่องนี้ คือ ข้อคำถามมากเกินไปไม่เหมาะกับการสอบถาม ข้อคำถามประกอบด้วย การดำเนินงาน และกระบวนการของการจัดการความรู้
     - งานวิจัย การดูแลสุขอนามัยในเด็กนักเรียน เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง 2 โรงเรียน  เครื่องมือวิจัยอยู่ในรูปแบบการ์ตูน เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กเล็ก  

·       ปัญหาของเครื่องมือ ได้แก่
            1. เป็นแบบสอบถามจากต่างประเทศที่มีเนื้อหาต่างบริบทกัน
2. มีข้อคำถามจำนวนมาก
      
·       แนวทางนำเครื่องมือ/แบบสอบถามจากต่างประเทศมาปรับใหม่ โดย
1.       หาค่า Validity ใหม่
2.       หาค่า Reliability ใหม่

·       การ Review ควร review เครื่องมือหลายๆ แบบ แล้วเลือกชิ้นที่ดีที่สุด และใช้เป็นเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ และการทดสอบเครื่องมือมีความสำคัญ
·       เครื่องมือที่จะนำไปใช้ต่อไปควรจะดีกว่าของเดิม ใช้ง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก
·       ควรทำ Survey ก่อน เพื่อหาความรู้ ความตระหนัก และความสามารถของกลุ่มตัวอย่าง แล้วทำ quasi นำปัจจัยที่สำรวจพบมาใช้
·       เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองควรเขียนการนำไปใช้ให้ชัดเจน
·       ควรใส่หัวเรื่องในแบบสอบถามด้วย