สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์งานวิจัย
ลำดับ
|
ประเด็น
|
จำนวนเรื่อง
|
1
|
ด้านการจัดการเรียนการสอน
|
4
|
2
|
ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
|
3
|
3
|
ด้านผู้สูงอายุ
|
3
|
4
|
ด้านอาชีวอนามัย
|
2
|
5
|
ด้านระบบประกันสุขภาพ
|
1
|
6
|
ด้านการใช้สมุนไพร
|
1
|
ดังนั้น กลุ่มงานวิจัยและการจัดการความรู้
ได้เลือกประเด็นสำคัญในด้านผู้สูงอายุและด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
มาสังเคราะห์เพื่อสกัดเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
สถานการณ์ในภาพรวมของผู้สูงอายุ
จากผลการวิเคราะห์เอกสารสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พบว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่รวดเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 20 -22 ปี ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ต่อจำนวนประชากรรวมจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
7 เป็นร้อยละ 14 ซึ่งนับว่ามีอัตราการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี
พ.ศ. 2553 และเข้าสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี
พ.ศ.2573 ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมที่จะรองรับผู้สูงอายุ
สภาพของผู้สูงอายุไทย
จากการศึกษาสภาพด้านต่างๆ
ของผู้สูงอายุ สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับสภาพทั้งทางด้านร่างกาย (Physical
Status Aging) ด้านจิตใจ (Psychological Status of Aging) และด้านสังคม (Social Status of
Aging) ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สำมารถทำงานและสำมารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ โรคภัยไข้เจ็บ และส่งผลกระทบต่อสภาพทางจิตใจของผู้สูงอายุด้วย
นอกจากนั้นการสูญเสียสถานภาพทางสังคม ย่อมกระทบต่อความรู้สึกทางจิตใจของผู้สูงอายุเช่นกัน
และโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ไม่สำมารถหารายได้ได้
จึงรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกิดความว้าเหว่ ทั้ง ที่ผู้สูงอายุอาจมีความต้องการรายได้มากกว่าช่วงกลางคน
เช่น เกิดปัญหาสุขภาพต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ต้องการคนดูแลเนื่องจากตนเองไม่แข็งแรง
สภาพด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ(Financial Status of Aging) จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ
ปัญหาในภาพรวมของผู้สูงอายุ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พบว่าปัญหาของผู้สูงอายุมีดังนี้
1.
ปัญหาเรื่องความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง
2.
มีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ไม่ดี
3.
มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน
4.
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่เหมาะสม
5.
การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยยังไม่เหมาะสมและปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุได้แก่
1. ปัญหาด้านร่างกาย ได้แก่
การเสื่อมถอยของสุขภาพ เช่น โรคของผู้สูงอายุ อวัยวะภายในเสื่อมถอย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคความดัน โรคเกาต์ โรคข้อเสื่อม โรคเอ็นเสื่อม และโรคอ่อนเพลีย เป็นต้น
2. ปัญหาด้านจิตใจ ทางด้านจิตใจคิดมาก
เครียด และถูกทอดทิ้งปัญหาที่มารุมเร้าจิตใจ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจค่าครองชีพสูง ปัญหาเยาวชนที่เป็นอนาคตของลูกหลาน
เป็นผลให้ผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลเครียด ส่งผลให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตัน
3. ปัญหาเศรษฐกิจและรายได้
ขาดหลักประกันทางรายได้ ระบบและพฤติกรรมการออม ภาวะความยากจน
4. ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยและผู้ดูแลยามแก่ชรามากและเป็นโรคเรื้อรัง
5. ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมและทำประโยชน์เพื่อสังคม มีแนวโน้มอยู่ตามลำพังสูง
6. ปัญหาด้านการศึกษา
7. ปัญหาการสงเคราะห์จากภาครัฐและเอกชน
8. ปัญหาด้านอาชีพและแรงงาน
|
สรุปจากปัญหาต่างๆ
ของผู้สูงอายุตามที่ได้เสนอมานั้น สำมารถสรุปได้ว่า ปัญหาของผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็น 2 ด้านที่สำคัญ คือ
1. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายในของผู้สูงอายุ
เช่น ปัญหาด้านสติปัญญาปัญหาด้านสุขภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ ปัญหาด้านจิตใจ
เช่น ภาวะความเครียด กดดัน ว้าเหว่ และปัญหาจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เป็นต้น
2. ปัญหาจากปัจจัยภายนอก
ประกอบด้วย ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการปรับโครงสร้างทางสังคม ปัญหาการไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารและปัญหาทางด้านการขาดโอกาสทางศึกษา
เป็นต้น
ความต้องการของผู้สูงอายุ
จากการศึกษาความต้องการด้านต่างๆ
ของผู้สูงอายุ สรุปได้ว่าผู้สูงอายุมีความต้องการสำคัญแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ ดังนี้
1. ด้านร่างกาย พบว่า เกิดจากสภาพความเสื่อมโทรมของร่างกายทำให้ไม่สำมารถมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางสังคมได้
ซึ่งส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ ในด้านจิตใจ และด้านเศรษฐกิจ
2. ความต้องการทางด้านจิตใจ
พบว่า ผู้สูงอายุต้องการความอบอุ่น ความรักจากลูกหลาน โดยมักคิดว่าตนเองด้อยค่า ความต้องการที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
คือด้านการศึกษาเนื่องจากผู้สูงอายุมีความต้องการที่จะได้รับทราบข่าวสำรวจ ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
เพื่อผู้สูงอายุสำมารถดำเนินชีวิตในช่วงสุดท้ายของวงจรชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและปกติสุข
การสร้างความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุการมีคุณค่าในตนเองเป็นความรู้สึกของผู้สูงอายุ ที่ได้รับการยอมรับ การเคารพจากลูกหลานและรู้สึกว่าตนเองมีความสำมารถในการทำกิจกรรมต่างๆได้
การมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผาสุกทาง
การได้รับการสนับสนุนทางสังคมการสนับสนุนจากครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ
มุมมองของผู้สูงอายุที่อยู่กับลูกหลาน สะท้อนว่า
การเกื้อหนุนที่ได้รับจากลูก
เปรียบเสมือนการได้รับการเกื้อหนุนทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุ มีความมั่นใจและสุขใจต่อชีวิตบั้นปลาย
การได้รับสวัสดิการดูแลจากรัฐที่เพียงพอทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลในรูปแบบต่างๆ
การนำความรู้ไปใช้เชิงบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุที่ได้จากการสังเคราะห์งานวิจัย
|
1.การพัฒนานวัตกรรมบริการออกแบบที่เน้นพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง
(สมรรถนะแห่งตน)
และดูแลกันเองที่บ้าน
ทั้งการจัดการโรค/ปัญหาสุขภาพหลัก โรค /ปัญหาสุขภาพร่วมและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
2.เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข่าวสารด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลให้มากที่สุด
ในทุกๆช่องทาง เช่นจัดทำคู่มือเอกสารการดูแลตนเองสำหรับผู้สูงอายุ
3.เผยแพร่รูปแบบการออกกำลังกายแบบต่างๆ ออกมาในรูปแบบแผ่นพับ โปสเตอร์ หรือคู่มือ
เช่น สมาธิเคลื่อนไหวไทย ชี่กง
การฟ้อนเจิง
โนราห์ให้ผู้สูงอายุเพื่อเป็นทางเลือกในการเสริมสร้างความสำมารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย
4.สร้างแนวปฏิบัติพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุและผู้ดูแล โดยเฉพาะการตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มความสำมารถในการดูแลตนเองและดูแลกันเองที่บ้าน
4.สร้างแนวปฏิบัติพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุและผู้ดูแล โดยเฉพาะการตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มความสำมารถในการดูแลตนเองและดูแลกันเองที่บ้าน
5.จัดบริการวิชาการในประเด็นผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุให้มากขึ้น
เช่โครงการอบรมเตรียมความพร้อมของบุคลากร สู่การเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง
สิทธิของผู้สูงอายุ การให้ความรู้บุคคลในครัวเรือนที่อยู่กับผู้สูงอายุ
6.สร้างและขยายแกนนำผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้องในชุมช เพื่อพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความเข้าอกเข้าใจผู้สูงอายุด้วยกัน
6.สร้างและขยายแกนนำผู้สูงอายุ/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้องในชุมช เพื่อพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความเข้าอกเข้าใจผู้สูงอายุด้วยกัน
7.คงไว้ซึ่งบริการสุขภาพพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุ
เช่น การวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนักเพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพอยู่เสมอ
8.พัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงของผู้สูงอายุ
8.พัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงของผู้สูงอายุ
9.กำหนดนโยบายในหน่วยงานทุกระดับที่มีผู้สูงอายุและผู้ดูแลให้เป็นหนึ่งกลุ่มเป้าหมายของการบริการสุขภาพ
10.พัฒนาหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุและการเตรียม ความพร้อมเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี
10.พัฒนาหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุและการเตรียม ความพร้อมเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข มีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Thank you for your share.