วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกระหว่างก่อนกับหลังผ่าตัดต้อกระจก

ต้อกระจก เป็นโรคทางจักษุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่อมีอายุมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพที่ต้องใช้สายตา ลดความสามารถในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือการสื่อสารกับผู้อื่น รวมทั้งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสายตาเลือนรางและตาบอด ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง
คุณภาพชีวิตก่อนการผ่าตัด มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับค่อนไปทางดี ด้านที่ดีที่สุดคือด้านจิตใจ แต่ 2.5% ยังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ที่น้อยที่สุดคือด้านสัมพันธภาพทางสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต คือ ฐานะทางเศรษฐกิจ การสูญเสียการมองเห็น ระยะเวลาที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี การศึกษา และอายุ(p < 0.05) 




คุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดต้อกระจกคุณภาพชีวิตโดยรวมและทุกองค์ประกอบดีขึ้น (p < 0.001) แต่คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม   ยังอยู่ในระดับที่น้อยที่สุด 
ข้อเสนอแนะให้การทำผ่าตัดต้อกระจกโดยเร็วแก่ผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกในระยะสุก บูรณาการบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวที่ตึกผู้ป่วยนอก ส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายสถานบริการสุขภาพทุกระดับ ให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ณ ศาสนสถาน และส่งเสริมการดูแลแบบองค์รวมในครอบครัวด้วยบริบทไทย 

ที่มา ธิดาวรรณ ไชยมณี. (2551).เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกระหว่างก่อนกับหลังผ่าตัดต้อกระจก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมโรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. 2551. วิทยานิพนธ์ วท..(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหหิดล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your share.