วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการบริหารตัวบ่งชี้ QA อย่างมีประสิทธิภาพ

 แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อ
 “เทคนิคการบริหารตัวบ่งชี้ QA อย่างมีประสิทธิภาพ”
มีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้บริหารวางแผนในการมอบหมายตัวบ่งชี้แก่บุคลากรตั้งแต่ต้นปีการศึกษา โดยคำนึงถึง
ความรู้ ความสามารถ และการมีส่วนเกี่ยวข้องในตัวบ่งชี้นั้น ความยากง่ายของตัวบ่งชี้ในระดับสถาบัน ระดับหลักสูตร ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงกระบวนการ  กำหนดผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน   แต่งตั้งคำสั่ง โดยบูรณาการตัวบ่งชี้ เทียบตามเกณฑ์สภาการพยาบาล  สกอ. สมศ.


2. ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ดำเนินการดังนี้
    1) ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการประกันคุณภาพการศึกษา
    2) ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในตัวบ่งชี้นั้นของแต่ละเกณฑ์ และทั้งคู่มือใน
เกณฑ์ที่รับผิดชอบ
    3) ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ควรผ่านการอบรมในการพัฒนาศักยภาพผู้ประเมิน/เกี่ยวกับตัวบ่งชี้ที่
รับผิดชอบ

3. เครื่องมือในการดำเนินงานตามระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
    1) กำหนดแบบฟอร์มในการกำกับติดตามดำเนินการที่สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน เช่น
Checklist
    2) มีช่องทางในการกำกับติดตาม ถ่ายทอดเกณฑ์ ตัวชี้วัด ระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ เข้าถึงได้ง่าย โดยใช้ช่องทางต่างๆ เช่น  line, cloud
   3) การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์โดยวิทยาลัยควรมี CHE QA ที่เป็นของวิทยาลัยเพื่อ
สามารถจัดเก็บรายการหลักฐาน
  4) มีการกำหนดการกำกับติดตามอย่างชัดเจนของผู้บริหารทุกระดับและเอื้อต่อการทำงาน
  5) มีระบบการ Coaching งาน ผู้กำกับแต่ละตัวบ่งชี้จะช่วยเสริมพลังโดยการ “จับมือทำ
ช่วยให้ทำ หรือทำให้ดู”
  6) มีระบบการวิพากษ์ร่วมกันและตรวจสอบความถูกต้องของรายการหลักฐานจาก
ผู้เชี่ยวชาญ

4. การควบคุมคุณภาพโดยวิทยาลัยมีการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษาในแต่ละเกณฑ์ดังนี้
1) กำหนดให้มีกิจกรรมพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเพิ่มสมรรถนะแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบ
หลักสูตร ในการดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยการส่งอบรมประชุม ศึกษาดูงานภายนอกวิทยาลัยกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
2) ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับในการประกันคุณภาพการศึกษา การมีส่วนร่วมต่าง ๆ
ภายในวิทยาลัย
3) การส่งเสริมอาจารย์ทุกคนได้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ประเมินในการประกันคุณภาพใน
ระดับเครือข่าย ระดับสถาบัน ในแต่ละปี
4) มอบหมายให้อาจารย์ทุกคนที่ผ่านการอบรมการเป็นผู้ประเมินฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
การประเมินคุณภาพในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน

5. การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ต้องมีการเตรียมการและดำเนินการดังนี้
           1) ดำเนินการตามแบบกำกับติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพที่กำหนดไว้ของแต่ละตัวบ่งชี้ และของวิทยาลัย มีการจัดเก็บรายการหลักฐานต่าง ๆ ทั้งรูปแบบเอกสารและในฐานข้อมูล
           2) ร่างการประเมินตนเองตั้งแต่ต้นปีการศึกษา ถึงการดำเนินการและรายการหลักฐานที่ต้องการจัดเก็บ
           3) เข้าร่วมการวิพากษ์ SAR ที่วิทยาลัยกำหนด และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงดำเนินการจัดเก็บรายการหลักฐานส่งงาน QA เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและดำเนินการลง CHE QA Online

6. การรับตรวจประเมินจากคณะกรรมการ
           ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้เข้าร่วมรับประเมินคุณภาพจากคณะกรรมการโดยเตรียมผลงานการดำเนินงาน รายการหลักฐาน และให้ข้อมูลเชิงระบบ ติดตามข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

7. การถอดบทเรียน 
            ทุกคนต้องร่วมถอดบทเรียนการดำเนินงานทุกครั้ง เสนอแนะปัญหาอุปสรรคในช่วงที่ผ่านมาและเสนอแนะเพื่อการพัฒนาให้เกิดความสำเร็จในปีการศึกษา