แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
หัวข้อ “เทคนิคการเขียนบทความวิจัยสำหรับการตีพิมพ์ ”
1. การเตรียมความพร้อมของผู้วิจัยในการเขียนบทความวิจัย1) จะต้องวางแผนเตรียมการเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วางแผนที่
จะทำวิจัย
2) การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ ควรเลือกสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย ควรค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของนักวิจัยที่จะขอตีพิมพ์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียน รูปแบบหกสนนำเสนอเนื้อหา รูป กราฟ ตาราง เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งผลงานตีพิมพ์และเพิ่มโอกาสการตอบรับของวารสาร
3) ควรเลือกวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ ซึ่งสามารถศึกษารายชื่อวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากฐานข้อมูล TCI ของ สกอ.
4) การพิจาราณาคุณภาพของวารสารควรเลือกวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง โดยสามารถตรวจสอบค่า Impact Factor ได้จากhttp:/www.uk.sagepud.com/isiranking/default.sp
5) ค่าสมัครเป็นสมาชิกของวารสารเท่าไหร่ เพื่อการวางแผนของบประมาณไว้ล่วงหน้า
2. ขั้นตอนหรือกระบวนการที่ทำให้ได้รับการตีพิมพ์
1) เริ่มจากการ Flow step แต่ละขั้นตอนตามความยากง่าย การให้น้ำหนักของแต่ละหัวข้อ
2) การอ้างอิงข้อมูลต้องชัดเจน และถูกต้องตามรูปแบบการอ้างอิงของวารสาร การใช้เอกสารอ้างอิง ไม่ควรใช้งานวิจัยที่มีการตีพิมพ์นานกว่า 10 ปี ควรมีการทบทวนงานวิจัยต่างประเทศเพื่อความสมบูรณ์และความทันสมัยของงานวิจัย
3) ระวังเกี่ยวกับจรรยาบรรณนักวิจัย
4) เวลาเขียนบทความควรคำนึงถึงคนที่จะอ่านงานวิจัยของตนเอง โดยเขียนให้คนที่ไม่ได้ทำวิจัยในสาขาเดียวกันอ่านแล้วเข้าใจง่าย
5) การเขียนบทความวิจัยจะต้องมีเวลาเพียงพอเพื่อความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เขียน
6) มีการปรับแก้ไขทันที เมื่อต้องมีการปรับแก้จากวารสาร
3. ปัญหาอุปสรรคการเขียนหรือการส่งตีพิมพ์และแนวทางแก้ไขขั้นตอนหรือกระบวนการที่ทำให้ได้รับการตีพิมพ์
1) เทคนิคการเขียน การเรียบเรียงเนื้อหา หลักภาษาที่ใช้ แนวทางแก้ไข ถ้าเป็นนักวิจัยที่เริ่มการเขียนครั้งแรก ควรอ่านบทความวิจัยให้มากเพื่อจะได้มีแนวทางในการเขียนที่ตรงประเด็น กระชับ เข้าใจง่าย เมื่อเขียนเสร็จส่งให้คนอื่นที่เข้าใจงานวิจัยนั้นได้ช่วยอ่าน ซึ่งจะสามารกให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการเขียนได้ดีขึ้น
2) เวลาไม่เพียงพอ ไม่มีความต่อเนื่องในการเขียน ควรเป็นข้อเสนอแนะในการจัดการเชิงระบบของวิทยาลัยฯ เช่นนักวิจัยส่งแผนการทำในวิจัยเพื่อให้กลุ่มงานวิชาการจัด Master plan ที่เอื้อต่อนักวิจัย เพื่อให้การทำวิจัยสำเร็จตามแผนที่วางไว้ และทางหน่วยงานควรเห็นความสำคัญ และสนับสนุนให้บุคลากรได้มีโอกาสในการทำวิจัย
4. สาเหตุที่บทความวิจัยปฏิเสธการตีพิมพ์
1) การเลือกวารสารที่ผิด เกิดจากผู้เขียนส่งเรื่องที่ไม่อยู่ในความสนใจหรือขอบเขตวารสาร
2) ไม่ทำตามคำแนะนำของต้นฉบับของวารสาร จึงควรอ่านคำแนะนำสำหรับผู้เขียนอย่างละเอียดก่อนการเตรียมต้นฉบับ
3) การเขียนอภิปรายผลไม่ดี หรือไม่มีการอภิปรายผล
4) เอกสารอ้างอิงมีปัญหา ล้าสมัยหรือไม่ครอบคลุม
5) เหตุผลด้านจริยธรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ต้องได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัย
6) ไม่ได้แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และส่งคือให้วารสารตามเวลาที่กำหมด
5. เคล็ดลับหรือปัจจัยสู่ความสำเร็จในการเขียนบทความวิจัยสำหรับการตีพิมพ์
1) ผู้วิจัยจะต้องลงมือเขียนด้วยตนเอง ต้องลงทุนทั้งเวลา และความตั้งใจ เพราะผู้วิจัยจะเป็นผู้ที่เข้าใจในงานที่ทำมากที่สุด
2) มีการวางแผนเรื่องระยะเวลาในการกำกับการทำงานทั้งหมด
6. ท่านอยากให้ทีมวิจัยสนับสนุนอย่างไร
1) ต้องการ การสนับสนุนด้านเวลาในการทำวิจัย
2) มีระบบในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัย
3) ควรมีการวางแผนร่วมกันระหว่างงานวิจัยและงานวิชาการ เพื่อเป็นการเอื้อให้นักวิจัยได้วางแผนในการดำเนินงานวิจัย
4) นักวิจัยจะต้องวางแผนและเตรียมการในการำวิจัย ก่อนเปิดการศึกษา เพื่อการวางแผนร่วมกันกับงานวิชาการ
5) การสร้างขวัญกำลังใจให้กับอาจารย์ที่ทำงานวิจัยเช่นเงินค่าตีพิมพ์