วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการเขียนบทความวิจัยสำหรับการตีพิมพ์

แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
   หัวข้อ “เทคนิคการเขียนบทความวิจัยสำหรับการตีพิมพ์ ”

1. การเตรียมความพร้อมของผู้วิจัยในการเขียนบทความวิจัย
                   1) จะต้องวางแผนเตรียมการเรื่องการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วางแผนที่
   จะทำวิจัย
                   2) การเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ ควรเลือกสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย ควรค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของนักวิจัยที่จะขอตีพิมพ์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียน รูปแบบหกสนนำเสนอเนื้อหา รูป กราฟ  ตาราง เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งผลงานตีพิมพ์และเพิ่มโอกาสการตอบรับของวารสาร
                  3) ควรเลือกวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ ซึ่งสามารถศึกษารายชื่อวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากฐานข้อมูล TCI ของ สกอ.
                  4) การพิจาราณาคุณภาพของวารสารควรเลือกวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง โดยสามารถตรวจสอบค่า Impact Factor ได้จากhttp:/www.uk.sagepud.com/isiranking/default.sp
                  5) ค่าสมัครเป็นสมาชิกของวารสารเท่าไหร่ เพื่อการวางแผนของบประมาณไว้ล่วงหน้า
2. ขั้นตอนหรือกระบวนการที่ทำให้ได้รับการตีพิมพ์
                 1) เริ่มจากการ Flow step แต่ละขั้นตอนตามความยากง่าย การให้น้ำหนักของแต่ละหัวข้อ
                 2) การอ้างอิงข้อมูลต้องชัดเจน และถูกต้องตามรูปแบบการอ้างอิงของวารสาร การใช้เอกสารอ้างอิง ไม่ควรใช้งานวิจัยที่มีการตีพิมพ์นานกว่า 10 ปี  ควรมีการทบทวนงานวิจัยต่างประเทศเพื่อความสมบูรณ์และความทันสมัยของงานวิจัย
                 3) ระวังเกี่ยวกับจรรยาบรรณนักวิจัย
                 4) เวลาเขียนบทความควรคำนึงถึงคนที่จะอ่านงานวิจัยของตนเอง โดยเขียนให้คนที่ไม่ได้ทำวิจัยในสาขาเดียวกันอ่านแล้วเข้าใจง่าย
                 5) การเขียนบทความวิจัยจะต้องมีเวลาเพียงพอเพื่อความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เขียน
                 6) มีการปรับแก้ไขทันที เมื่อต้องมีการปรับแก้จากวารสาร
3. ปัญหาอุปสรรคการเขียนหรือการส่งตีพิมพ์และแนวทางแก้ไขขั้นตอนหรือกระบวนการที่ทำให้ได้รับการตีพิมพ์
                1) เทคนิคการเขียน  การเรียบเรียงเนื้อหา หลักภาษาที่ใช้  แนวทางแก้ไข ถ้าเป็นนักวิจัยที่เริ่มการเขียนครั้งแรก ควรอ่านบทความวิจัยให้มากเพื่อจะได้มีแนวทางในการเขียนที่ตรงประเด็น กระชับ เข้าใจง่าย เมื่อเขียนเสร็จส่งให้คนอื่นที่เข้าใจงานวิจัยนั้นได้ช่วยอ่าน ซึ่งจะสามารกให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการเขียนได้ดีขึ้น
               2) เวลาไม่เพียงพอ  ไม่มีความต่อเนื่องในการเขียน ควรเป็นข้อเสนอแนะในการจัดการเชิงระบบของวิทยาลัยฯ เช่นนักวิจัยส่งแผนการทำในวิจัยเพื่อให้กลุ่มงานวิชาการจัด Master plan ที่เอื้อต่อนักวิจัย เพื่อให้การทำวิจัยสำเร็จตามแผนที่วางไว้  และทางหน่วยงานควรเห็นความสำคัญ และสนับสนุนให้บุคลากรได้มีโอกาสในการทำวิจัย
4. สาเหตุที่บทความวิจัยปฏิเสธการตีพิมพ์
              1) การเลือกวารสารที่ผิด  เกิดจากผู้เขียนส่งเรื่องที่ไม่อยู่ในความสนใจหรือขอบเขตวารสาร
              2) ไม่ทำตามคำแนะนำของต้นฉบับของวารสาร  จึงควรอ่านคำแนะนำสำหรับผู้เขียนอย่างละเอียดก่อนการเตรียมต้นฉบับ
              3) การเขียนอภิปรายผลไม่ดี  หรือไม่มีการอภิปรายผล
              4) เอกสารอ้างอิงมีปัญหา ล้าสมัยหรือไม่ครอบคลุม
              5) เหตุผลด้านจริยธรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ต้องได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัย
              6) ไม่ได้แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ และส่งคือให้วารสารตามเวลาที่กำหมด
5. เคล็ดลับหรือปัจจัยสู่ความสำเร็จในการเขียนบทความวิจัยสำหรับการตีพิมพ์
              1) ผู้วิจัยจะต้องลงมือเขียนด้วยตนเอง ต้องลงทุนทั้งเวลา และความตั้งใจ เพราะผู้วิจัยจะเป็นผู้ที่เข้าใจในงานที่ทำมากที่สุด
              2) มีการวางแผนเรื่องระยะเวลาในการกำกับการทำงานทั้งหมด
6. ท่านอยากให้ทีมวิจัยสนับสนุนอย่างไร
             1) ต้องการ การสนับสนุนด้านเวลาในการทำวิจัย
             2) มีระบบในการสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัย
             3) ควรมีการวางแผนร่วมกันระหว่างงานวิจัยและงานวิชาการ เพื่อเป็นการเอื้อให้นักวิจัยได้วางแผนในการดำเนินงานวิจัย
             4) นักวิจัยจะต้องวางแผนและเตรียมการในการำวิจัย ก่อนเปิดการศึกษา เพื่อการวางแผนร่วมกันกับงานวิชาการ
             5) การสร้างขวัญกำลังใจให้กับอาจารย์ที่ทำงานวิจัยเช่นเงินค่าตีพิมพ์






วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคการบริหารตัวบ่งชี้ QA อย่างมีประสิทธิภาพ

 แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการเรียนรู้หัวข้อ
 “เทคนิคการบริหารตัวบ่งชี้ QA อย่างมีประสิทธิภาพ”
มีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้บริหารวางแผนในการมอบหมายตัวบ่งชี้แก่บุคลากรตั้งแต่ต้นปีการศึกษา โดยคำนึงถึง
ความรู้ ความสามารถ และการมีส่วนเกี่ยวข้องในตัวบ่งชี้นั้น ความยากง่ายของตัวบ่งชี้ในระดับสถาบัน ระดับหลักสูตร ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงกระบวนการ  กำหนดผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน   แต่งตั้งคำสั่ง โดยบูรณาการตัวบ่งชี้ เทียบตามเกณฑ์สภาการพยาบาล  สกอ. สมศ.


2. ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ดำเนินการดังนี้
    1) ตระหนักและให้ความสำคัญต่อการประกันคุณภาพการศึกษา
    2) ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในตัวบ่งชี้นั้นของแต่ละเกณฑ์ และทั้งคู่มือใน
เกณฑ์ที่รับผิดชอบ
    3) ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ควรผ่านการอบรมในการพัฒนาศักยภาพผู้ประเมิน/เกี่ยวกับตัวบ่งชี้ที่
รับผิดชอบ

3. เครื่องมือในการดำเนินงานตามระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
    1) กำหนดแบบฟอร์มในการกำกับติดตามดำเนินการที่สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน เช่น
Checklist
    2) มีช่องทางในการกำกับติดตาม ถ่ายทอดเกณฑ์ ตัวชี้วัด ระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆ เข้าถึงได้ง่าย โดยใช้ช่องทางต่างๆ เช่น  line, cloud
   3) การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์โดยวิทยาลัยควรมี CHE QA ที่เป็นของวิทยาลัยเพื่อ
สามารถจัดเก็บรายการหลักฐาน
  4) มีการกำหนดการกำกับติดตามอย่างชัดเจนของผู้บริหารทุกระดับและเอื้อต่อการทำงาน
  5) มีระบบการ Coaching งาน ผู้กำกับแต่ละตัวบ่งชี้จะช่วยเสริมพลังโดยการ “จับมือทำ
ช่วยให้ทำ หรือทำให้ดู”
  6) มีระบบการวิพากษ์ร่วมกันและตรวจสอบความถูกต้องของรายการหลักฐานจาก
ผู้เชี่ยวชาญ

4. การควบคุมคุณภาพโดยวิทยาลัยมีการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษาในแต่ละเกณฑ์ดังนี้
1) กำหนดให้มีกิจกรรมพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเพิ่มสมรรถนะแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบ
หลักสูตร ในการดำเนินการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยการส่งอบรมประชุม ศึกษาดูงานภายนอกวิทยาลัยกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
2) ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับในการประกันคุณภาพการศึกษา การมีส่วนร่วมต่าง ๆ
ภายในวิทยาลัย
3) การส่งเสริมอาจารย์ทุกคนได้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ประเมินในการประกันคุณภาพใน
ระดับเครือข่าย ระดับสถาบัน ในแต่ละปี
4) มอบหมายให้อาจารย์ทุกคนที่ผ่านการอบรมการเป็นผู้ประเมินฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
การประเมินคุณภาพในระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน

5. การตรวจสอบคุณภาพและการประเมินคุณภาพ ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ต้องมีการเตรียมการและดำเนินการดังนี้
           1) ดำเนินการตามแบบกำกับติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพที่กำหนดไว้ของแต่ละตัวบ่งชี้ และของวิทยาลัย มีการจัดเก็บรายการหลักฐานต่าง ๆ ทั้งรูปแบบเอกสารและในฐานข้อมูล
           2) ร่างการประเมินตนเองตั้งแต่ต้นปีการศึกษา ถึงการดำเนินการและรายการหลักฐานที่ต้องการจัดเก็บ
           3) เข้าร่วมการวิพากษ์ SAR ที่วิทยาลัยกำหนด และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงดำเนินการจัดเก็บรายการหลักฐานส่งงาน QA เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและดำเนินการลง CHE QA Online

6. การรับตรวจประเมินจากคณะกรรมการ
           ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้เข้าร่วมรับประเมินคุณภาพจากคณะกรรมการโดยเตรียมผลงานการดำเนินงาน รายการหลักฐาน และให้ข้อมูลเชิงระบบ ติดตามข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา

7. การถอดบทเรียน 
            ทุกคนต้องร่วมถอดบทเรียนการดำเนินงานทุกครั้ง เสนอแนะปัญหาอุปสรรคในช่วงที่ผ่านมาและเสนอแนะเพื่อการพัฒนาให้เกิดความสำเร็จในปีการศึกษา


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การพัฒนาการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านหุ่นฝึกทักษะการพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า

แนวปฏิบัติที่ดีที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
 Cop :การพัฒนาการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านหุ่นฝึกทักษะการพยาบาล 
ให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า


1. แต่งตั้งคณะกรรมการการใช้หุ่นฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบจำลองสถานการณ์ โดยการสร้างทีมการเรียนรู้ทุกสาขาวิชา เพื่อให้มีความพร้อม และความชำนาญในการใช้งาน
2. จัดเตรียมห้อง และอุปกรณ์การใช้หุ่นฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบจำลองสถานการณ์ให้พร้อม ได้แก่ ห้อง Simulation Intercom VDO และ Sim view
3. วางแผนให้มีการเรียนการสอนโดยใช้หุ่นจำลองสถานการณ์ ดังนี้
      3.1 ใช้ในการเรียนแบบจำลองสถานการณ์ในวิชารักษาพยาบาลเบื้องต้น การบริหารการพยาบาล การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1
      3.2 ใช้ในการสอบทักษะการปฏิบัติการพยาบาล (OSCE)
      3.3 ใช้ในการเตรียมความพร้อมของนิสิตพยาบาลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล (Pre clinic)
4. บรรจุวิธีการเรียนการสอนแบบการใช้หุ่นจำลองสถานการณ์ลงใน มคอ. 3 และ 4 ปีการศึกษา 2561
5. จัดอบรมการใช้หุ่นจำลองสถานการณ์ การสร้างโจทย์สถานการณ์แก่อาจารย์ และเจ้าหน้าที่อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1-2 ครั้ง
6. จัดทำคู่มือการใช้ห้อง Simulation และการใช้หุ่น Simulation เผยแพร่ แก่นิสิต อาจารย์ และเจ้าหน้าที่
7. สะท้อนคิดกับนิสิตในการเรียนแบบใช้หุ่นฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบจำลองสถานการณ์ พร้อมทั้งนำมาปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน
8. จัดทำบันทึกขอใช้งานหุ่นจำลองสถานการณ์นอกเวลา และให้อาจารย์เวรเป็นผู้ช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวก

การดำเนินงานการจัดการความรู้