วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อดี - ข้อเสีย ของการเรียนการสอนผ่านเว็บ

ข้อดี - ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ


ข้อดี
  • เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
  • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
  • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
  • ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
  • ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสีย
  • ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
  • ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
  • ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
  • ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ 

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รายงานการประชุม CoP กลุ่ม: การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้วยการจัดการความรู้

รายงานการประชุม CoP กลุ่ม: การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้วยการจัดการความรู้
ครั้งที่ 1 วันที่ 8 เม.ย. 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ครั้งที่ 2 วันที่ 11 เม.ย. 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น.


มีอาจารย์เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนจำนวน 16 คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้ ประเด็นปัญหาอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการประเมินผล
  1. มีการปรับเปลี่ยนการทำงานจากพยาบาลประจำการเป็นอาจารย์ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับ 
    • ไม่คุ้นเคยกับการเป็นอาจารย์ ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง 
    • ต้องเตรียมความรู้มากชึ้น เพราะต้องเป็นอาจารย์นิเทศในหอผู้ป่วยที่ไม่ คุ้นเคย เช่น การปรับเปลี่ยนการทำงานจากพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยศัลยกรรมมาเป็นอาจารย์นิเทศหอผู้ป่วยอายุรกรรม 
    • ยังไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติหรือประสบการณ์ 
  2. การที่มีองค์ความรู้ไม่มากพอทำให้อาจารย์เกิดความไม่มั่นใจ และไม่ทราบว่าสิ่งที่จะต้องสอนมีขอบเขตเนื้อหามากน้อยแค่ไหน 
  3. อาจารย์เกิดความไม่มั่นใจในการทำหัตถการบางอย่างที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งอาจทำให้นิสิตไม่เชื่อถือ 
  4. อาจารย์ใหม่มีเวลาเตรียมความพร้อมก่อนการสอนทฤษฎีน้อย สำหรับการนิเทศภาคปฏิบัติ มีประสบการณ์ผ่านการฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยที่ต้องนิเทศน้อยเพียง 4 สัปดาห์ 
  5. จัดให้อาจารย์ใหม่สอนทฤษฎีและปฏิบัติเร็วเกินไป (หลังฝึกประสบการณ์บนหอผู้ป่วย 4-6 เดือน) ซึ่งระยะเวลาการเรียนรู้น้อยทำให้ปฏิบัติงานด้านการสอนทฤษฎีและปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ 
  6. อาจารย์บางคนสอนทฤษฎีและปฏิบัติ ในขณะที่ยังไม่ได้เรียนครูคลินิก ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการสอน 

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความไม่สมดุลของสารน้ำของกรด ด่าง



โดยปกติในแต่ละวันร่างกายจะได้รับกรดจากอาหารและกระบวนการ metabolism และมีการขับกรดออกจากร่างกายส่วนใหญ่ โดย การหายใจ และการขับปัสสาวะ เพื่อรักษาภาวะสมดุลของกรด ด่างในร่างกายให้คงตัว โดยมี pH ในเลือดแดง (arterial blood pH) ประมาณ 7.4   หาก pH  มีการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าปกติจะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป  เช่น ถ้าร่างกายอยู่ใน ภาวะที่ เป็น กรดมาก คือ ค่า pH น้อยกว่า 6.8 จะเป็นสาเหตุของโคม่า (coma) และเสียชีวิตในที่สุดและถ้าร่างกายอยู่ในสภาวะที่เป็นด่างมากเกินไป คือ ค่า pH มากกว่า 7.8 อาจทำให้เกิดการชักกระตุก หรือชัก (convalsion) และเสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความไม่สมดุลของกรด ด่างในร่างกาย เพื่อค้นหาความผิดปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย


วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Humanistic Care


สัมภาษณ์ ดร.สุชีวา วิชัยกุล ตัวแทนกลุ่ม Humanistic Care ที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้จาก ดร.ซูซาน College of Mountsaint Vincent, New York เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 


Dr. Susheewa Wichaikull. 
The Presentation of Humanistic Care 
College of Mount Saint Vincent, US.

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์งานวิจัย

สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์งานวิจัย

ลำดับ
ประเด็น
จำนวนเรื่อง
1
ด้านการจัดการเรียนการสอน
4
2
ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
3
3
ด้านผู้สูงอายุ
3
4
ด้านอาชีวอนามัย
2
5
ด้านระบบประกันสุขภาพ
1
6
ด้านการใช้สมุนไพร
1

ดังนั้น กลุ่มงานวิจัยและการจัดการความรู้ ได้เลือกประเด็นสำคัญในด้านผู้สูงอายุและด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มาสังเคราะห์เพื่อสกัดเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
สถานการณ์ในภาพรวมของผู้สูงอายุ จากผลการวิเคราะห์เอกสารสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่รวดเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 20 -22 ปี ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ต่อจำนวนประชากรรวมจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 14 ซึ่งนับว่ามีอัตราการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี พ.. 2553 และเข้าสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี พ..2573 ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมที่จะรองรับผู้สูงอายุ

สภาพของผู้สูงอายุไทย จากการศึกษาสภาพด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับสภาพทั้งทางด้านร่างกาย (Physical Status Aging) ด้านจิตใจ (Psychological Status of Aging) และด้านสังคม (Social Status of Aging) ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สำมารถทำงานและสำมารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ โรคภัยไข้เจ็บ และส่งผลกระทบต่อสภาพทางจิตใจของผู้สูงอายุด้วย นอกจากนั้นการสูญเสียสถานภาพทางสังคม ย่อมกระทบต่อความรู้สึกทางจิตใจของผู้สูงอายุเช่นกัน และโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ไม่สำมารถหารายได้ได้ จึงรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกิดความว้าเหว่ ทั้ง ที่ผู้สูงอายุอาจมีความต้องการรายได้มากกว่าช่วงกลางคน เช่น เกิดปัญหาสุขภาพต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ต้องการคนดูแลเนื่องจากตนเองไม่แข็งแรง สภาพด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ(Financial Status of Aging) จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การจัดการเรียนการสอนแบบ SImulation base learning : กรณีศึกษาดูงาน




         การใช้หุ่นจำลองเสมือนจริงในการเรียนการสอนเป็นกลยุทธ์การเรียนรู้ใหม่และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางการแพทย์และการพยาบาล วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยเพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์กับผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตที่ดีของนักศึกษาและผู้รับบริการ เพื่อการเรียนการสอนพยาบาล โดยได้นำหุ่นจำลองสำหรับฝึกช่วยชีวิต (Manikin) ช่วยในการควบคุมและเชื่อมโยงกับจอแสดงผลสัญญาณชีพ ในการฝึกปฎิบัติการพยาบาล และสามารถแสดงอาการต่างๆได้เหมือนจริง เช่น เหงื่อไหล น้ำตาไหล มีเลือกออกส่งเสียงร้อง และการเต้นของชีพจร ได้ใกล้เคียงกับมนุษย์


วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Google Classroom

Google เปิดตัวเครื่องมือใหม่ล่าสุด Google Classroom ที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ครูผู้สอนใช้เก็บรวบรวมและติดตามงานที่มอบหมายให้นักเรียนและยังช่วยให้นักเรียนสามารถพูดคุยกับชั้นเรียนของพวกเขาได้ดีขึ้น



แอพลิเคชั่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Google Apps ซึ่งช่วยให้การสั่งงานและการติดตามงานง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน Google ได้ให้ผู้ทดลองหลายคนนำไปใช้และนำมันกลับมาปรับปรุงมันเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

Classroom เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนในโรงเรียนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นบริการนี้เป็นส่วนหนึ่งของบริการ Google Apps for Education ซึ่งเป็นบริการที่ Google ได้เข้าไปจับมือกับสถานศึกษาต่าง ๆ เพื่อเข้าไปจัดให้บริการ อีเมล ปฏิทิน และเอกสารบนเว็บฟรี สำหรับการเรียนรู้แบบทำงานร่วมกันได้ทุกที่ทุกเวลา

จนถึงตอนนี้ Google ได้ทำการทดสอบระบบและคาดว่าจะปล่อยมันในช่วงเดือนกันยายนสำหรับปีการศึกษาต่อไป


วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )



คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่ ต้องการให้ผู้รู้นั้นนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนาศักยภาพนิสิต


ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาและการสื่อสาร ส่งผลให้องค์ความรู้ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นและเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วอย่างไร้ขอบเขตเรียกว่า “exponential” ความรู้ที่กระจายออกไปจะกลายเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการต่อยอดทำาให้เกิดการเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้ใหม่เป็นทวีคูณเมื่อเทียบกับสมัยก่อนผู้สอนในยุคนี้จึงต้องปรับบทบาทในการเรียนรู้เพื่อให้ทันโลกและทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อปรับใช้ในการเรียนการสอนไม่เพียงแต่เกิดในชั้นเรียนเท่านั้น แต่หากยังมีการปรับกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียนควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ให้มีความสมดุลระหว่างคุณลักษณะความเป็นเป็นพลเมืองที่ดีและมีทักษะพร้อมในการประกอบวิชาชีพโดยการจัดการศึกษาให้มีความสมดุลระหว่างปัญญา คุณธรรมและวิทยาการสมัยใหม่ เชื่อมโยงประสานกันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม


วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาวะสมองเสื่อม

เรียบเรียงโดย พีระนันทิ์  จีระยิ่งมงคล

          ภาวะสมองเสื่อมพบมากในผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้สูงอายุทุกคนจะต้องมีภาวะสมองเสื่อม เพราะว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นไม่ได้เกิดจากความชราภาพ เท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อม เช่น ภาวะโรคหลอดเลือดสมอง  โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง  และภาวะเบาหวาน รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น  โดยผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม จะสูญเสียความจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำระยะสั้นซึ่งจะเป็นอาการที่นำมาก่อนอาการอื่น ๆ นอกจากนี้ยัง  พบว่า ความจำเสื่อมจะมีผลต่อความสามารถในการตัดสินใจ  ความคิด การใช้ภาษา และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และอารมณ์ รวมทั้งความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง  อีกด้วย
ทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ??


การป้องกันภาวะสมองเสื่อมเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเรานี่แหละซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำได้ง่ายๆมาฝาก

โมเดลปลาตะเพียน





            "โมเดลปลาตะเพียน" เป็นบทขยายของ "โมเดลปลาทู" ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวปลาใหญ่" เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานร่วมกันกำหนด ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือเป้าหมายร่วม (Common Goal) เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้น เปรียบเสมือนการที่ "ปลาเล็ก" ทุกตัว "ว่ายน้ำ" ไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ "ว่ายน้ำ" ของตนเอง ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ "บริหารหัวปลา" และคอยดูแล "บ่อน้ำ" ให้ "ปลาเล็ก" ได้มีโอกาสใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ "ว่ายสู่เป้าหมายร่วม" ทุกหน่วยงานย่อยเองก็ต้องคอยตรวจสอบว่า "หัวปลาเล็ก" ของตนหันไปทางเดียวหกับ "หัวปลาใหญ่" ขององค์กรหรือไม่

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจกระหว่างก่อนกับหลังผ่าตัดต้อกระจก

ต้อกระจก เป็นโรคทางจักษุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่อมีอายุมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบอาชีพที่ต้องใช้สายตา ลดความสามารถในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือการสื่อสารกับผู้อื่น รวมทั้งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสายตาเลือนรางและตาบอด ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง
คุณภาพชีวิตก่อนการผ่าตัด มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับค่อนไปทางดี ด้านที่ดีที่สุดคือด้านจิตใจ แต่ 2.5% ยังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ที่น้อยที่สุดคือด้านสัมพันธภาพทางสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต คือ ฐานะทางเศรษฐกิจ การสูญเสียการมองเห็น ระยะเวลาที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี การศึกษา และอายุ(p < 0.05) 

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ


1. ข้อดีที่ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ

  • เป็นช่องทางในการเผยแพร่งานวิจัยให้ออกสู่สายนอกเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือพัฒนาต่อยอด
  • เพื่อเป็นหลักฐานในการพัฒนางานวิจัยที่เกิดขึ้น และนำไปพัฒนาศึกษาวิจัยต่อได้สำหรับผู้สนใจ
  • เกิดการเรียนรู้เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและและเป็นพัฒนาศักยภาพผู้วิจัยที่จะเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นไป
  • เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับผู้วิจัยและสถาบันให้เป็นที่ยอมรับจากสังคมภายในและภายนอก

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

เทคนิคทำ FLASH DRIVE ให้ปลอดไวรัส

Flash Drive ที่มีไวรัสฝังตัวอยู่ เกิดจากการที่เรานำมันไปเสียบ เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสอยู่นั่นเอง สังเกตง่ายๆ ว่าใน Flash Drive นั้นจะมีไฟล์ที่มีชื่อว่า Autorun.int ซึ่งเมื่อเรานำ Flash Drive นี้ไปเสียบ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ ก็เป็นอันแตกลูกแตกหลานกันต่อๆ ไป อย่ากระนั้นเลย เรามาหลอกล่อให้มันงงและอยู่เป็นที่เป็นทางกันดีกว่า เหมือนคุมกำเนิด ด้วยวิธีต่อไปนี้


  1. เปิด My Compter เข้าสู่ Flash Drive ที่ปราศจากไวรัส
  2. คลิกขวาพื้นที่ว่างๆ แล้วเลือก New ตามต่อด้วย Folder
  3. พิมพ์ชื่อ Folder ว่า Autorun.inf ขอย้ำว่าชื่อ Folder ไม่ใช่ชื่อ File ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้ไวรัสรู้สึกหงิดหงิด เนื่องจากมันไม่สามารถสร้าง File ชื่อ Autorun.inf ได้อีกต่อ


นอกจากนี้เราต้องซ่อน Folder นี้ไว้ด้วย เพื่อไม่ให้เราเผลอลบทิ้งไป ด้วยขั้นตอนการซ่อนดังนี้


  1. คลิกขวาที่ Folder autorun.inf เลือก Properties
  2. คลิกเลือก Hidden
  3. คลิกปุ่ม OK


เท่านี้ Flash Drive ของเราก็ไม่มีไวรัสมากวนใจให้เสียเครดิตเจ้าของแล้ว


โมเดลปลาทู




           โมเดลปลาทูมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนเป้าหมาย (หัวปลา) ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) และ ส่วนการจดบันทึก (หางปลา)

            "หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนเป้าหมาย ได้แก่ ปณิธานความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ

            "ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

            "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การจดบันทึก เป็นการจดบันทึกความรู้ เทคนิค เคล็ดลับในการทำงานที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรบันทึกในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผังมโนทัศน์ (Mind Map) และรูปแบบอื่นๆ ให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึง เอาไปปรับใช้ได้ตลอดเวลา และเก็บคลังความรู้เหล่านี้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology - ICT) ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของ KM (Knowledge Management)



            การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดยการจัดการให้มีการค้นพบความรู้ ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน หาทางนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตกแต่งให้ง่ายต่อการใช้สอยและมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดให้งดงาม และใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและกาละเทศะยิ่งขึ้น มีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้นจากการเอาความรู้ที่ไม่เหมือนกันมาเจอกัน

            หลักสำคัญของการจัดการความรู้ คือ กระบวนการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคน ในการดำเนินการจัดการความรู้มีบุคคลหรือคนสำคัญในหลากหลายบทบาทหลากหลายรูปแบบ ที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ในบทบาทของตนเองให้ดีที่สุดแต่ต้องมีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทำงานที่ดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างสวยงามกลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

บุคคลที่มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้





            ในกระบวนการการจัดการความรู้ในแต่ละองค์กร ควรประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

            1. "คุณเอื้อ" คือผู้ที่ทำให้เกิดผลงาน KM มีหน้าที่คัดเลือกหาทีมงานจากหลายสังกัดมาเป็นแกนนำ สนับสนุนทรัพยากรแก่ทีมงานอย่างเต็มที่ ส่งเสริมให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกิดจากความสำเร็จหลากหลายรูปแบบ

            2. "คุณอำนวย" ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งในเชิงกิจกรรม เชิงระบบ และเชิงวัฒนธรรม

            3. "คุณกิจ" ผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ร้อยละ 90-95 อาจสรุปได้ว่าคุณกิจคือผู้จัดการความรู้ตัวจริง เป็นผู้มีความรู้ (Explicit Knowledge) และเป็นผู้ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง “เป้าหมาย/หัวปลา” ที่ตั้งไว้

            4. "คุณลิขิต" ทำหน้าที่จดบันทึก ในกิจกรรมการจัดการความรู้ อาจทำหน้าที่เป็นการเฉพาะกิจ หรือทำหน้าที่เป็นระยะยาว กึ่งถาวรในกิจกรรมจัดการความรู้ของกลุ่ม หรือ หน่วยงาน หรือองค์กร สิ่งที่ “คุณลิขิต” จดบันทึกได้แก่ เรื่องเล่าจากกิจกรรม ขุมความรู้จากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการประชุมและบันทึกอื่นๆ

            5. "คุณวิศาสตร์" คือ นัก IT ที่เข้ามาช่วยเป็นทีมงาน KM คำว่า "วิศาสตร์" มาจากคำว่า "IT wizard" หรือพ่อมดไอที จะเข้ามาช่วยคิดเรื่องการวางระบบ IT ที่เหมาะกับการดำเนินการ KM

            6. "คุณประสาน" ในการทำ KM แบบเครือข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามองค์กร "คุณประสาน" จะทำหน้าที่ประสานงานให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกันภายในเครือข่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้ฝังลึก เกิดการหมุนเกลียวความรู้ได้อย่างมีพลังมาก เรียกว่า "การหมุนเกลียวความรู้ผ่านเขตแดน"

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้


  1. การสะท้อนคิด (Self - Reflection)  เป็นการเขียนหรือบอกเล่าความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อกิจกรรมนั้นๆเพื่อการปรับปรุงพัฒนาตนเองงานและองค์กร
  2. ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice : COP)  เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันมารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือเพื่อการพัฒนา
  3. สุนทรียสนทนา (Dialogue)  เป็นกระบวนการสื่อสารภายในองค์กรที่เป็นลักษณะของการพัฒนากระบวนการคิดร่วมกันเป็นการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อความเข้าใจในระดับที่หยั่งลึก (Tacit Level)
  4. การเขียนเล่าประสบการณ์ (Story Telling)  หมายถึง  การเล่าประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้เล่าเองจากการพบเห็นการอ่านการฟังซึ่งจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงถ่ายทอดให้ผู้อ่านฟังได้
  5. การทบทวนก่อนกิจกรรม (Before Action Review : BAR)  หมายถึง  เปรียบได้กับหัวปลาหรือเป้าหมายของการจัดการความรู้  สิ่งที่จะทำเปรียบเสมือนแผนการจัดการความรู้สำหรับสิ่งที่เราคิดทำเองเทียบได้กับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานวิเคราะห์แล้วว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเร่งด่วนตอบสนองต่อวิสัยทัศน์พันธกิจของสถาบันหรือต่อความต้องการของบุคลากร
  6. การทบทวนหรือประเมินผลหลังกิจกรรมสำเร็จ (After Action Review : AAR)  หมายถึง  การทบทวนหรือประเมินผลหลังกิจกรรมสำเร็จเสร็จสิ้นเทียบกับเป้าหมายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้งว่ามีจุดดีจุดด้อยโอกาสและอุปสรรคอย่างไร
  7. การเรียนรู้หลังกิจกรรมสำเร็จ (Action Learning Review : ALR)  หมายถึง  การเรียนรู้หลังกิจกรรมสำเร็จเสร็จสิ้นว่าได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเพื่อการพัฒนาคนงานองค์การอย่างไร
  8. การเล่าเรื่อง (Success Story Telling : SST)  หมายถึง  (Story Telling)  การบอกเล่าเรื่องราวที่ทำให้ผู้ฟังเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในความคิดมีความต้องการที่จะหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหา
  9. พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Webboard)  เป็นพื้นที่ที่อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  10. การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)  ระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นที่เป็นปัญหา