1. ข้อดีที่ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
- เป็นช่องทางในการเผยแพร่งานวิจัยให้ออกสู่สายนอกเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือพัฒนาต่อยอด
- เพื่อเป็นหลักฐานในการพัฒนางานวิจัยที่เกิดขึ้น และนำไปพัฒนาศึกษาวิจัยต่อได้สำหรับผู้สนใจ
- เกิดการเรียนรู้เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและและเป็นพัฒนาศักยภาพผู้วิจัยที่จะเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นไป
- เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับผู้วิจัยและสถาบันให้เป็นที่ยอมรับจากสังคมภายในและภายนอก
2. เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
ขั้นเตรียมการ
- เลือกวารสารที่ต้องการจะตีพิมพ์ วารสารที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัยที่เราศึกษา
- เลือกวารสารที่ระยะเวลาในการในการตีพิมพ์ไม่นานเกินไปและมีจำนวนวารสารที่ตีพิมพ์ในแต่ละปีหลายครั้ง เพื่อเป็นช่องทางที่เราจะสามารถส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ได้มากขึ้น
- ติดต่อกับบรรณาธิการวารเพื่อแจ้งความประสงค์ในการส่งบทความวิจัยลงตีพิมพ์
- ศึกษานโยบายและวัตถุประสงค์ระเบียบและแบบฟอร์มในการเขียนของวารสารฉบับนั้นๆ เพื่อจัดเตรียมข้อมูลสำหรับตีพิมพ์ให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดทำ โดยต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ต้นฉบับตรงตามความต้องการของวารสารนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไขต้นฉบับภายหลัง
- อ่านแนวทางการประเมินคุณภาพของงานวิจัยที่นำมาเขียนต้องมีคุณลักษณะของงานวิจัยที่ดี เช่น เป็นองค์ความรู้ใหม่ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ น่าสนใจ มีถูกต้องตามระเบียบวิธีการวิจัย พร้อมทั้งประเมินงานวิจัยของตนเองตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดนั้นหรือไม่กำหนดให้เข้าใจและ
- ศึกษาผลงานวิจัยของผู้อื่นที่ได้รับการตีพิมพ์ศึกษารูปแบบวิธีการและลีลาในการเขียนจากผลงานในวารสารที่เราเลือกและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้อื่นเพื่อการเรียนรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผลงานตนเองได้
- มีการกำหนดกรอบเวลาที่จะให้การเขียนแล้วเสร็จที่ชัดเจน เพื่อให้ได้รายงานการวิจัยที่มีคุณภาพซึ่งต้องมีเวลามากพอและต่อเนื่องเพื่อให้มีสมาธิและจดจ่ออยู่ที่งานการเขียนในเรื่องนั้
ขั้นตอนการเขียน
- จัดทำ Outline กระบวนการเขียนผลงานออกมาก่อนองค์ประกอบของรายงานซึ่งผลการวิจัย จะประกอบด้วย บทคัดย่อ ที่มาและความสำคัญของปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัย ผลการวิจัยและการอภิปรายผล ซึ่งส่วนใหญ่ในวารสารต่างจะมีความคล้ายคลึงกัน
- ควรเขียนบทคัดย่อก่อน เพื่อเป็นกรอบในการเขียนส่วนอื่นๆ โดยสรุปสาระของการวิจัยอย่างสั้นๆ ความยาวไม่ควรเกิน 3 ใน 4 ของหน้าเนื่อหาสั้น กระชับ ได้ใจความลำดับเนื้อหามีความสอด คล้องกันและเข้าใจง่ายมีความถูกต้อง สมบูรณ์ในตัวเอง
- การทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรทำทุกกระบวนการ การทบทวนวรรณกรรมที่ดีจะส่งผลให้การขียนบทความวิจัยมีความถูกต้องและสมบูรณ์
- การเขียนวิธีการวิจัยในแต่ละขั้นตอนจะต้องมี
- ความชัดเจนเพียงพอที่จะช่วยให้ผู้อ่านโดยต้องใช้ภาษาที่กระชับ สละสลวยเข้าใจง่าย ไม่สับสลวยไม่ยืดเยื้อทำให้ผลงานน่าอ่าน โดยเฉพาะในขั้นการอภิปรายผลการวิจัยส่วนนี้มีความสำคัญมากในการวิเคราะห์เจาะลึกถึงผลการวิจัยที่ได้ ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ ความเข้าใจในผลการวิจัย มีงานวิจัยสนับสนุนหรือมีทฤษฎีรองรับอย่างสมเหตุผล งานวิจัยที่ดี จะต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน
- การเขียนงานวิจัยทุกย่อหน้าควรการเชื่อมต่อข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกัน ให้ดูน่าติดตามสำหรับผู้ที่จะอ่านงานวิจัยของเรา
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้(สรุปประเด็นสำคัญ
พร้อมคำอธิบาย โดยสังเขป)
1.
ทำให้เกิดองค์ความรู้ เคล็ดลับเกี่ยวกับการเตรียมบทความวิจัยเพื่อส่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ
สิ่งใดควรหรือไม่ควรทำบ้าง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผู้วิจัย
2. เป็นแรงกระตุ้น
ผลักดันในเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการะดับชาติ
3.
ทำให้อาจารย์ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการเขียนนบทความวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติอยากเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์แพราะสึกอุ่นใจและมั่นใจในการเขียนบทความเนื่องจากมีองค์กรมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
หรือมีชุมชนนักปฏิบัติ (Community of
Practice : CoP) ด้านเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
คอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาและสนับสนุน
4.
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายสำหรับผู้ที่กำลังทำการวิจัยอยู่
และผู้ที่กำลังจะเริ่มทำในอนาคต บทความการวิจัยนั้นถ้าได้ลงตีพิมพ์ในวารสารจะเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้เกิดประโยชน์และคุณค่า
รวมทั้งผู้ที่จะได้นำไปพัฒนาต่อยอดในอนาคต
แนวทางการนำความรู้ไปใช้
1. นำไปใช้เป็นแนวทางเตรียมบทความงานวิจัยสำหรับตีพิมพ์ เพื่อให้ได้รับการยอมรับตีพิมพ์ในวารสารวิชากการระดับชาติ
2.
เป็นแนวทางส่งเสริมให้เกิดการสร้าง และพัฒนาผลงานวิจัย
พร้อมทั้งการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติ ในอนาคต
ตอบสนองวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร
3.
เป็นแนวทางปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเขียนบทความวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติอย่างกว้างขวาง
ช่วยในการนำผลงานวิจัยกลับมาพัฒนางานให้ดีขึ้นและนำมาซึ่งชื่อเสียงขององค์กร
เป็นแนวทางในการค้นหา สร้างกลยุทธ์เพื่อให้อาจารย์เกิดความอยากทำ
และต้องทำงานวิจัยและเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Thank you for your share.