วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างเครื่องมือวิจัย (ปีการศึกษา 2559)

แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการสร้างเครื่องมือวิจัย

             โดย กลุ่ม CoP:  การสร้างเครื่องมือวิจัย
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีดังนี้
·       การสร้างเครื่องมือวิจัย เริ่มจากการพิจารณาวัตถุประสงค์ของการวิจัย ชนิดของการวิจัย และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง  คำจำกัดความ  กลุ่มเป้าหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล
·       การสร้างเครื่องมือ ควรพิจารณา
1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2) ชนิดของการวิจัย
           3) ครอบคลุมทั้ง เนื้อหา (content) ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยและคำจำกัดความ และ กรอบแนวคิดการวิจัย (construct/ conceptual framework)
                  การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย การพิจารณาใช้ model และ concepts ขึ้นอยู่กับกลุ่มอายุ ซึ่งได้จากการ review และการสำรวจด้วยตนเอง
      4) กลุ่มเป้าหมาย
      5) การวิเคราะห์ข้อมูล
      6) การใช้แบบสอบถามแบบ scale จะใช้กับความคิดเห็น ทัศนคติ ไม่ควรใช้กับ fact เพราะมีแค่ ใช่
และ ไม่ใช่ ถ้าเป็น scale จะทำให้ตอบยาก
·       แบบสอบถามวัดอะไรบ้าง
- ข้อเท็จจริง
- ความรู้
- ทัศนคติ การรับรู้
- พฤติกรรม
·       โครงสร้างแบบสอบถาม ประกอบด้วย
- บทนำ คำชี้แจง
- ข้อมูลส่วนบุคคล
- คำถามตามวัตถุประสงค์/ กรอบแนวคิด

·       ประเภทคำถามที่ใช้ แบ่งเป็น
- แบบปลายเปิด
- แบบเติมคำในช่องว่าง
- แบบปลายปิด
- Matching
- True/ False
- Ranking
·       ข้อเสนอแนะในการทำแบบสอบถาม มีดังนี้
-          การทำแบบสอบถาม ควรคำนึงถึง อายุ ของกลุ่มเป้าหมาย สร้างแบบสอบถามให้เหมาะสมกับแต่ละวัย
-          ไม่ควรมีข้อคำถามมากเกินไป
-          Clarity ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ได้แก่ ทุกวัน, 2-6 ครั้งต่อสัปดาห์
-          เลี่ยงคำศัพท์
-          Scales สมดุล ไม่ซ้ำกัน
-          เลี่ยงคำถามที่ทำให้อึดอัดใจ
-          เรียงจากง่ายไปยาก
-          ไม่ใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
-          ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
ตัวเลือกคำถามความรู้ต้องรวมคำตอบ ไม่ทราบ/ ไม่แน่ใจ
-          ควรมีกรอบเวลาในการวัด (โดยเฉพาะพฤติกรรม)
-          ในการเก็บข้อมูลควรพิจารณาว่า จะวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไรด้วย
·       ตัวอย่าง 
-  งานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการความรู้ของวิทยาลัย  เป็น Descriptive research เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และการดำเนินการจัดการความรู้ โดยการดำเนินการจัดการความรู้นี้นำแนวคิดมาทำเป็นข้อคำถาม มีผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจเครื่องมือ
                      ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยเรื่องนี้ คือ ข้อคำถามมากเกินไปไม่เหมาะกับการสอบถาม ข้อคำถามประกอบด้วย การดำเนินงาน และกระบวนการของการจัดการความรู้
     - งานวิจัย การดูแลสุขอนามัยในเด็กนักเรียน เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง 2 โรงเรียน  เครื่องมือวิจัยอยู่ในรูปแบบการ์ตูน เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กเล็ก  

·       ปัญหาของเครื่องมือ ได้แก่
            1. เป็นแบบสอบถามจากต่างประเทศที่มีเนื้อหาต่างบริบทกัน
2. มีข้อคำถามจำนวนมาก
      
·       แนวทางนำเครื่องมือ/แบบสอบถามจากต่างประเทศมาปรับใหม่ โดย
1.       หาค่า Validity ใหม่
2.       หาค่า Reliability ใหม่

·       การ Review ควร review เครื่องมือหลายๆ แบบ แล้วเลือกชิ้นที่ดีที่สุด และใช้เป็นเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ และการทดสอบเครื่องมือมีความสำคัญ
·       เครื่องมือที่จะนำไปใช้ต่อไปควรจะดีกว่าของเดิม ใช้ง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก
·       ควรทำ Survey ก่อน เพื่อหาความรู้ ความตระหนัก และความสามารถของกลุ่มตัวอย่าง แล้วทำ quasi นำปัจจัยที่สำรวจพบมาใช้
·       เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองควรเขียนการนำไปใช้ให้ชัดเจน
·       ควรใส่หัวเรื่องในแบบสอบถามด้วย



แนวปฏิบัติที่ดี เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดย กลุ่ม CoP: ทำอย่างไรให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีดังนี้
      1. การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ โดยไม่ใช่เพียงแค่การบรรยาย แต่ต้องนำวิธีการสอนที่หลากหลายมาใช้ เช่น Flipped classroom, Reflective thinking, Transformative learning, Authentic learning การใช้ป้ายสี เพื่อแสดงความเข้าใจ  โดยมีแนวคิดเพื่อการนำไปใช้ ดังนี้
         - Flipped classroom การสอนที่ไม่ใช่การบรรยาย หรือท่องจำ การสลับเปลี่ยนวธีการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
        - Reflective thinkingการสะท้อนคิด เพื่อวิเคราะห์ว่าตนเองรู้อะไร และยังไม่รู้อะไร เพื่อการวางแผนที่จะเรียนรู้ต่อยอดต่อไป  ประเด็นต้องชัดเจน มีเวลา มีเป้าหมาย
            - Transformative learningการเปลี่ยนสภาพ จากไม่รู้เป็นรู้ จากทำไม่ได้เป็นทำได้ เปลี่ยนจากไม่ชอบเป็นชอบ
      - Authentic assessment การตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อประเมินว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการคิดขั้นสูงและทักษะที่ใช้ได้นชีวิตจริง
      2. การพัฒนานิสิตไม่ใช่เพียงแค่ต้องการให้นิสิตเก่ง แต่ต้องเก่ง ดี และมีความสุข โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดี
      3. เน้นให้นิสิตรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง ให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีการคิดวิเคราะห์หาเหตุและผล ตั้งเป้าหมายให้กับตนเองในการเรียน

      4. ครูต้องมีการเสริมแรงเมื่อเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่นการตั้งคำถาม ครูต้องชมเชยเพื่อที่เด็กจะไม่รู้เก้อเขิน หรือ รู้สึกไม่ดีเวลาถาม 
สรุปจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนา
   การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตจะเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflective Thinking) นั้นสามารถสรุปแนวคิด ได้ดังต่อไปนี้
          ๑. สามารถทำได้ทั้งในวิชาภาคทฤษฎีและวิชาปฎิบัติ โดยในขั้นตอนการ recall ในปฎิบัติสามารถใช้ประสบการณ์จริง ในวิวิชาทฤษฎี อาจกำหนดโจทย์สถานการณ์มา หรือให้ดูคลิปวิดีโ
          ๒. สามารถเตรียมให้นิสิตพัฒนาการใช้ทักษะการสะท้อนคิดได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 โดยเฉพาะในรายวิชากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ และวิชามนุษย์ฯ
         ๓. สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุกชั้นปี
         ๔. ควรพิจารณาทำในรายวิชาที่สามารถวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ (LO2) โดยใช้แนวคิดกระบวนการสะท้อนคิด ของ Gibbs ซึ่งจะช่วยให้สามารถวัด LO2 ได้ทั้งหมด
         ๕. ในการนำการสะท้อนคิดมาใช้ในการพัฒนาจัดการเรียนการสอนควรมีการเตรียมทั้งผู้สอน ผู้เรียนประมวลรายวิชาและเครื่องมือ 

        ๖. ครูควรปรับบทบาทเป็น Facilitator, Guide และ Co-learner /Co-investigator เน้นการใช้คำถามที่เป็น Positive
        ๗. ในการสะท้อนคิดควรให้นิสิตฝึกการเชื่อมโยงประสบการณ์กับความรู้จากแนวคิดทฤษฎี และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

        แนวปฏิบัติที่ดีในการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นิสิตจะเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflective Thinking)มีดังนี้

·       ใช้กระบวนการสะท้อนคิด ของ Gibbs, 1988 ซึ่งประกอบด้วย
6. การวางแผนการใช้ความรู้
สังเคราะห์
5.การสรุปความเข้าใจใหม่
สังเคราะห์
4. การวิเคราะห์เหตุการณ์
วิเคราะห์
3. การประเมินผลกระทบ
นำไปใช้
2. การทบทวนความคิดและความรู้สึก
รู้จำ/เข้าใจ
1.       การทบทวนประเด็น
รู้จำ

·       แบ่งระดับของการสะท้อนคิด (Lee, 2002) ดังนี้
                   Non-reflect ; อธิบายคร่าว ๆ  
                   Descriptive reflect อธิบายเหตุการณ์อย่างละเอียด จดจำได้ดี
                   Dialogic reflect : วิเคราะห์ด้วยมุมมองที่ไม่ค่อยหลากหลาย
                   Critical reflect : วิเคราะห์อย่างลุ่มลึกมีเหตุผล ข้อคิดพัฒนา         
      โดย เปรียบเทียบระดับ Critical level (4,5,6) Aware level (2,3) Surface level (1)
·       มีการเตรียมทั้งผู้สอน ผู้เรียน รายวิชาและเครื่องมือ ดังนี้
 การเตรียมครู
ปัญหา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
  1. ไม่เข้าใจหลักการคิด
  2. การสนทนาหรือการสรุปการเรียนรู้ก็เพียงพอ
  3. คิดว่าใช้เวลานานและรบกวนงานประจำ
  4. ขาดทักษะการกำหนดประเด็นการตั้งคำถาม เพื่อคิดการวิเคราะห์
  5. กังวลว่านักศึกษาไม่มีเวลาไม่ใส่ใจกับความรู้ เนื้อหาวิชา
  6. การตรวจให้คะแนนมุ่งเน้นรู้จำเข้าใจ และพัฒนาการคิด
1.       มีความเข้าใจและทัศนคติ
2.       ฝึกให้มีนิสัยเป็นนักสะท้อนคิด
3.       ฝึกทักษะการตั้งคำถาม
4.       ฝึกทักษะการประเมินช่วยเหลือ
5.       ฝึกการให้กำลังใจเสริมแรง
6.       การสร้างทีมร่วมกัน
7.       การทำ KM มีระบบพี่เลี้ยง การทำวิจัยในชั้นเรียน

การเตรียมวิชา/เครื่องมือ
ปัญหา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1.       Curriculum ไม่ชัดเจน เน้นสาระความรู้
2.       การออกแบบรายวิชาเป็นการ teacher center
3.       การประเมินผลทำได้ยาก
4.       หนังสือหรือทรัพยากรการเรียนรู้ไม่เพียงพอ
5.       เนื้อหามีมากเกินไปเวลาน้อย
6.       การจัดการเยนการสอนไม่ยืดหยุ่น
  1. ทบทวนวัตถุประสงค์รายวิชา ผลการเรียนรู้
  2. ออกแบบและกิจกรรมที่เอื้อได้

การเตรียมผู้เรียน
ปัญหา
แนวทางการแก้ไขปัญหา
     1. ไม่เห็นประโยชน์ของการทบทวนตนเอง
     2. พร่องทักษะในการตั้งประเด็นคำถามที่เป็น gap เพื่อพัฒนาการการเรียนรู้ของตนเอง
     3. ขาดการเชื่อมโยงความรู้จากแนวคิดทฤษฎี หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง

1. ให้ข้อมูลชี้แจงปรับทัศนคติ
2. ฝึกการหาประเด็น โดยอาจารย์เป็นผู้ยกตัวอย่างคำถามที่มีความเจาะจง ไม่กว้างเกินไป และนำไปสู่การหาฝึกคิดหาคำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. ฝึกการตั้งคำถาม
4. ฝึกการเขียนให้ดูตัวอย่าง ให้ดูเกณฑ์
5. ฝึกการใช้หลักฐานชิงประจักษ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
6. เสริมแรงให้กำลังใจ

แนวปฏิบัติที่ดีในการทำบันทึกสะท้อนคิด
      การที่ครูเป็นผู้วิเคราะห์ประเด็นการสะท้อนคิดที่มีความเจาะจง ไม่กว้างเกินไป เอาเฉพาะที่เป็นปัญหาก่อน ให้ผู้เรียนฝึกทำจึงมีส่วนสำคัญในการทำการสะท้อนคิดที่มีประสิทธิภาพ  โดยกำหนดว่าให้เขียนไม่เกิน 15 บรรทัดซึ่งประกอบด้วย
1. ให้เขียนประสบการณ์ Recall สั้นๆ 3 บรรทัด
2. ให้เขียนแนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ
          3. ให้ค้นงานวิจัย Evidence-based มาอธิบายและอ้างอิงด้วย

ตัวอย่างเช่น
         กำหนดให้นิสิตสะท้อนคิดเกี่ยวกับ ประสบการณ์การบริหารยา โดยประกอบด้วย
           1. เขียนประสบการณ์ในการบริหารยา 
           2. หลักในการบริหารยา
           3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารยาที่ดีที่สุด
    - โดยเพิ่มเรื่องผลที่เกิดจากความไม่ตระหนักในการบริหารยาที่ถูกต้องและให้เขียนเอกสารอ้างอิงมาด้วย
                                                     เขียนโดย  โดย กลุ่ม CoP: ทำอย่างไรให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ