วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รายงานการประชุม CoP กลุ่ม: การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้วยการจัดการความรู้

รายงานการประชุม CoP กลุ่ม: การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้วยการจัดการความรู้
ครั้งที่ 1 วันที่ 8 เม.ย. 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ครั้งที่ 2 วันที่ 11 เม.ย. 2557 เวลา 09.00 – 12.00 น.


มีอาจารย์เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนจำนวน 16 คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้ ประเด็นปัญหาอาจารย์ใหม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการประเมินผล
  1. มีการปรับเปลี่ยนการทำงานจากพยาบาลประจำการเป็นอาจารย์ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับ 
    • ไม่คุ้นเคยกับการเป็นอาจารย์ ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง 
    • ต้องเตรียมความรู้มากชึ้น เพราะต้องเป็นอาจารย์นิเทศในหอผู้ป่วยที่ไม่ คุ้นเคย เช่น การปรับเปลี่ยนการทำงานจากพยาบาลประจำการหอผู้ป่วยศัลยกรรมมาเป็นอาจารย์นิเทศหอผู้ป่วยอายุรกรรม 
    • ยังไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติหรือประสบการณ์ 
  2. การที่มีองค์ความรู้ไม่มากพอทำให้อาจารย์เกิดความไม่มั่นใจ และไม่ทราบว่าสิ่งที่จะต้องสอนมีขอบเขตเนื้อหามากน้อยแค่ไหน 
  3. อาจารย์เกิดความไม่มั่นใจในการทำหัตถการบางอย่างที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งอาจทำให้นิสิตไม่เชื่อถือ 
  4. อาจารย์ใหม่มีเวลาเตรียมความพร้อมก่อนการสอนทฤษฎีน้อย สำหรับการนิเทศภาคปฏิบัติ มีประสบการณ์ผ่านการฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยที่ต้องนิเทศน้อยเพียง 4 สัปดาห์ 
  5. จัดให้อาจารย์ใหม่สอนทฤษฎีและปฏิบัติเร็วเกินไป (หลังฝึกประสบการณ์บนหอผู้ป่วย 4-6 เดือน) ซึ่งระยะเวลาการเรียนรู้น้อยทำให้ปฏิบัติงานด้านการสอนทฤษฎีและปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ 
  6. อาจารย์บางคนสอนทฤษฎีและปฏิบัติ ในขณะที่ยังไม่ได้เรียนครูคลินิก ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการสอน 

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความไม่สมดุลของสารน้ำของกรด ด่าง



โดยปกติในแต่ละวันร่างกายจะได้รับกรดจากอาหารและกระบวนการ metabolism และมีการขับกรดออกจากร่างกายส่วนใหญ่ โดย การหายใจ และการขับปัสสาวะ เพื่อรักษาภาวะสมดุลของกรด ด่างในร่างกายให้คงตัว โดยมี pH ในเลือดแดง (arterial blood pH) ประมาณ 7.4   หาก pH  มีการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าปกติจะมีผลทำให้ปฏิกิริยาเคมีของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป  เช่น ถ้าร่างกายอยู่ใน ภาวะที่ เป็น กรดมาก คือ ค่า pH น้อยกว่า 6.8 จะเป็นสาเหตุของโคม่า (coma) และเสียชีวิตในที่สุดและถ้าร่างกายอยู่ในสภาวะที่เป็นด่างมากเกินไป คือ ค่า pH มากกว่า 7.8 อาจทำให้เกิดการชักกระตุก หรือชัก (convalsion) และเสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความไม่สมดุลของกรด ด่างในร่างกาย เพื่อค้นหาความผิดปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย


วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Humanistic Care


สัมภาษณ์ ดร.สุชีวา วิชัยกุล ตัวแทนกลุ่ม Humanistic Care ที่ได้ไปศึกษาเรียนรู้จาก ดร.ซูซาน College of Mountsaint Vincent, New York เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 


Dr. Susheewa Wichaikull. 
The Presentation of Humanistic Care 
College of Mount Saint Vincent, US.