วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้


  1. การสะท้อนคิด (Self - Reflection)  เป็นการเขียนหรือบอกเล่าความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อกิจกรรมนั้นๆเพื่อการปรับปรุงพัฒนาตนเองงานและองค์กร
  2. ชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice : COP)  เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันมารวมตัวกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมสร้างความเข้าใจหรือเพื่อการพัฒนา
  3. สุนทรียสนทนา (Dialogue)  เป็นกระบวนการสื่อสารภายในองค์กรที่เป็นลักษณะของการพัฒนากระบวนการคิดร่วมกันเป็นการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อความเข้าใจในระดับที่หยั่งลึก (Tacit Level)
  4. การเขียนเล่าประสบการณ์ (Story Telling)  หมายถึง  การเล่าประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้เล่าเองจากการพบเห็นการอ่านการฟังซึ่งจะต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงถ่ายทอดให้ผู้อ่านฟังได้
  5. การทบทวนก่อนกิจกรรม (Before Action Review : BAR)  หมายถึง  เปรียบได้กับหัวปลาหรือเป้าหมายของการจัดการความรู้  สิ่งที่จะทำเปรียบเสมือนแผนการจัดการความรู้สำหรับสิ่งที่เราคิดทำเองเทียบได้กับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานวิเคราะห์แล้วว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเร่งด่วนตอบสนองต่อวิสัยทัศน์พันธกิจของสถาบันหรือต่อความต้องการของบุคลากร
  6. การทบทวนหรือประเมินผลหลังกิจกรรมสำเร็จ (After Action Review : AAR)  หมายถึง  การทบทวนหรือประเมินผลหลังกิจกรรมสำเร็จเสร็จสิ้นเทียบกับเป้าหมายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้งว่ามีจุดดีจุดด้อยโอกาสและอุปสรรคอย่างไร
  7. การเรียนรู้หลังกิจกรรมสำเร็จ (Action Learning Review : ALR)  หมายถึง  การเรียนรู้หลังกิจกรรมสำเร็จเสร็จสิ้นว่าได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเพื่อการพัฒนาคนงานองค์การอย่างไร
  8. การเล่าเรื่อง (Success Story Telling : SST)  หมายถึง  (Story Telling)  การบอกเล่าเรื่องราวที่ทำให้ผู้ฟังเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในความคิดมีความต้องการที่จะหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหา
  9. พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Webboard)  เป็นพื้นที่ที่อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  10. การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)  ระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นที่เป็นปัญหา