วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)


เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การบ่งชี้ความรู้ – พิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมายของวิทยาลัยฯ คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร  ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร
  2. การสร้างและแสวงหาความรู้ – การสร้างความรู้ใหม่  แสวงหาความรู้จากภายนอก  รักษาความรู้เก่า  กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  –  เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้  -  ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน  ใช้ภาษาเดียวกันปรับ  ปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
  5. การเข้าถึงความรู้ – การทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)   Webboard   บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ – ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร  ฐานความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศหรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน   กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม   ชุมชนแห่งการเรียนรู้   ระบบพี่เลี้ยง   การสับเปลี่ยนงาน   การยืมตัวหรือเวทีแลกเปลี่ยนความรู้  เป็นต้น
  7. การเรียนรู้  –  ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน  เช่น  เกิดระบบการเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้ > นำความรู้ไปใช้ > เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)


เป็นกรอบความคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภายในองค์กร มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ  ดังนี้
  1. การเตรียมการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เช่น  กิจกรรมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร   (ที่ทุกคนมองเห็น)   โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร   ทีม/หน่วยงานที่รับผิดชอบ  มีระบบการติดตามและประเมินผล  กำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จชัดเจน  เป็นต้น
  2. การสื่อสาร  เช่น กิจกรรมที่ทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ  ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน   แต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร
  3. กระบวนการและเครื่องมือ   ช่วยให้การค้นหา  เข้าถึง  ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้สะดวกรวดเร็วขึ้น  โดยการเลือกใช้กระบวนการและเครื่องมือขึ้นกับชนิดของความรู้   ลักษณะขององค์กร (ขนาด,  สถานที่ตั้ง ฯลฯ)  ลักษณะการทำงาน  วัฒนธรรมองค์กรและทรัพยากร
  4. การเรียนรู้  เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้โดยการเรียนรู้ต้องพิจารณาถึง  เนื้อหา  กลุ่มเป้าหมาย  วิธีการ  การประเมินผลและปรับปรุง
  5. การวัดผล   เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่   มีการนำผลของการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น   มีการนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้และการวัดผลต้องพิจารณาด้วยว่าจะวัดผลที่ขั้นตอนใด  ได้แก่  วัดระบบ (System)   วัดที่ผลลัพธ์ (Out Put)  หรือวัดที่ประโยชน์ที่จะได้รับ (Out Come)
  6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล  เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับ โดยข้อควรพิจารณา  ได้แก่ ค้นหาความต้องการของบุคลากร   แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว  บูรณาการกับระบบที่มีอยู่  ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา