วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์งานวิจัย

สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์งานวิจัย

ลำดับ
ประเด็น
จำนวนเรื่อง
1
ด้านการจัดการเรียนการสอน
4
2
ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
3
3
ด้านผู้สูงอายุ
3
4
ด้านอาชีวอนามัย
2
5
ด้านระบบประกันสุขภาพ
1
6
ด้านการใช้สมุนไพร
1

ดังนั้น กลุ่มงานวิจัยและการจัดการความรู้ ได้เลือกประเด็นสำคัญในด้านผู้สูงอายุและด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มาสังเคราะห์เพื่อสกัดเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
สถานการณ์ในภาพรวมของผู้สูงอายุ จากผลการวิเคราะห์เอกสารสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่รวดเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 20 -22 ปี ที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ต่อจำนวนประชากรรวมจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 14 ซึ่งนับว่ามีอัตราการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี พ.. 2553 และเข้าสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในปี พ..2573 ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมที่จะรองรับผู้สูงอายุ

สภาพของผู้สูงอายุไทย จากการศึกษาสภาพด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับสภาพทั้งทางด้านร่างกาย (Physical Status Aging) ด้านจิตใจ (Psychological Status of Aging) และด้านสังคม (Social Status of Aging) ที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สำมารถทำงานและสำมารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ โรคภัยไข้เจ็บ และส่งผลกระทบต่อสภาพทางจิตใจของผู้สูงอายุด้วย นอกจากนั้นการสูญเสียสถานภาพทางสังคม ย่อมกระทบต่อความรู้สึกทางจิตใจของผู้สูงอายุเช่นกัน และโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ไม่สำมารถหารายได้ได้ จึงรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกิดความว้าเหว่ ทั้ง ที่ผู้สูงอายุอาจมีความต้องการรายได้มากกว่าช่วงกลางคน เช่น เกิดปัญหาสุขภาพต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ต้องการคนดูแลเนื่องจากตนเองไม่แข็งแรง สภาพด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ(Financial Status of Aging) จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ