วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )



คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่ ต้องการให้ผู้รู้นั้นนับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมให้ผู้สอนได้เห็นแนวทางในการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนาศักยภาพนิสิต


ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาและการสื่อสาร ส่งผลให้องค์ความรู้ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นและเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วอย่างไร้ขอบเขตเรียกว่า “exponential” ความรู้ที่กระจายออกไปจะกลายเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการต่อยอดทำาให้เกิดการเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้ใหม่เป็นทวีคูณเมื่อเทียบกับสมัยก่อนผู้สอนในยุคนี้จึงต้องปรับบทบาทในการเรียนรู้เพื่อให้ทันโลกและทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อปรับใช้ในการเรียนการสอนไม่เพียงแต่เกิดในชั้นเรียนเท่านั้น แต่หากยังมีการปรับกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียนควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ให้มีความสมดุลระหว่างคุณลักษณะความเป็นเป็นพลเมืองที่ดีและมีทักษะพร้อมในการประกอบวิชาชีพโดยการจัดการศึกษาให้มีความสมดุลระหว่างปัญญา คุณธรรมและวิทยาการสมัยใหม่ เชื่อมโยงประสานกันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม


วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาวะสมองเสื่อม

เรียบเรียงโดย พีระนันทิ์  จีระยิ่งมงคล

          ภาวะสมองเสื่อมพบมากในผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้สูงอายุทุกคนจะต้องมีภาวะสมองเสื่อม เพราะว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นไม่ได้เกิดจากความชราภาพ เท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อม เช่น ภาวะโรคหลอดเลือดสมอง  โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง  และภาวะเบาหวาน รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น  โดยผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม จะสูญเสียความจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำระยะสั้นซึ่งจะเป็นอาการที่นำมาก่อนอาการอื่น ๆ นอกจากนี้ยัง  พบว่า ความจำเสื่อมจะมีผลต่อความสามารถในการตัดสินใจ  ความคิด การใช้ภาษา และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และอารมณ์ รวมทั้งความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง  อีกด้วย
ทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ??


การป้องกันภาวะสมองเสื่อมเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเรานี่แหละซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำได้ง่ายๆมาฝาก

โมเดลปลาตะเพียน





            "โมเดลปลาตะเพียน" เป็นบทขยายของ "โมเดลปลาทู" ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น "หัวปลาใหญ่" เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานร่วมกันกำหนด ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือเป้าหมายร่วม (Common Goal) เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้น เปรียบเสมือนการที่ "ปลาเล็ก" ทุกตัว "ว่ายน้ำ" ไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ "ว่ายน้ำ" ของตนเอง ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่ "บริหารหัวปลา" และคอยดูแล "บ่อน้ำ" ให้ "ปลาเล็ก" ได้มีโอกาสใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ "ว่ายสู่เป้าหมายร่วม" ทุกหน่วยงานย่อยเองก็ต้องคอยตรวจสอบว่า "หัวปลาเล็ก" ของตนหันไปทางเดียวหกับ "หัวปลาใหญ่" ขององค์กรหรือไม่