วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

เทคนิคทำ FLASH DRIVE ให้ปลอดไวรัส

Flash Drive ที่มีไวรัสฝังตัวอยู่ เกิดจากการที่เรานำมันไปเสียบ เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสอยู่นั่นเอง สังเกตง่ายๆ ว่าใน Flash Drive นั้นจะมีไฟล์ที่มีชื่อว่า Autorun.int ซึ่งเมื่อเรานำ Flash Drive นี้ไปเสียบ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ ก็เป็นอันแตกลูกแตกหลานกันต่อๆ ไป อย่ากระนั้นเลย เรามาหลอกล่อให้มันงงและอยู่เป็นที่เป็นทางกันดีกว่า เหมือนคุมกำเนิด ด้วยวิธีต่อไปนี้


  1. เปิด My Compter เข้าสู่ Flash Drive ที่ปราศจากไวรัส
  2. คลิกขวาพื้นที่ว่างๆ แล้วเลือก New ตามต่อด้วย Folder
  3. พิมพ์ชื่อ Folder ว่า Autorun.inf ขอย้ำว่าชื่อ Folder ไม่ใช่ชื่อ File ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้ไวรัสรู้สึกหงิดหงิด เนื่องจากมันไม่สามารถสร้าง File ชื่อ Autorun.inf ได้อีกต่อ


นอกจากนี้เราต้องซ่อน Folder นี้ไว้ด้วย เพื่อไม่ให้เราเผลอลบทิ้งไป ด้วยขั้นตอนการซ่อนดังนี้


  1. คลิกขวาที่ Folder autorun.inf เลือก Properties
  2. คลิกเลือก Hidden
  3. คลิกปุ่ม OK


เท่านี้ Flash Drive ของเราก็ไม่มีไวรัสมากวนใจให้เสียเครดิตเจ้าของแล้ว


โมเดลปลาทู




           โมเดลปลาทูมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนเป้าหมาย (หัวปลา) ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) และ ส่วนการจดบันทึก (หางปลา)

            "หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนเป้าหมาย ได้แก่ ปณิธานความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ

            "ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

            "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การจดบันทึก เป็นการจดบันทึกความรู้ เทคนิค เคล็ดลับในการทำงานที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรบันทึกในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผังมโนทัศน์ (Mind Map) และรูปแบบอื่นๆ ให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึง เอาไปปรับใช้ได้ตลอดเวลา และเก็บคลังความรู้เหล่านี้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology - ICT) ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป